เทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
คำสำคัญ:
เทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้, กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของเทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และแบบสอบถาม การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาองค์ประกอบของเทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์นิเทศจากสถาบันอุดมศึกษา ครูระดับก่อนประถมศึกษา และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1.)เทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ด้านการจัดกิจกรรม/ประสบการณ์ มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ มีแผนการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับธรรมชาติและสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน ส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจ อยากรู้ อยากเรียน คิดเป็นระบบและรู้จักวิธีหาคำตอบด้วยตนเอง มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียน พัฒนาสุนทรียภาพทั้งด้านดนตรี ศิลปะและการเคลื่อนไหว และส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 2) ด้านบุคลิกภาพ มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ กระตือรือร้น ยิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์มั่นคง มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเด็กแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ใช้ภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสม ใช้สายตามองเด็กอย่างทั่วถึง มีท่าทีอบอุ่นและเป็นกันเอง และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และ 3) ด้านความรู้และทักษะ มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ เข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก มีทักษะการตั้งคำถาม มีทักษะการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีทักษะการเก็บเด็ก และมีทักษะการควบคุมชั้นเรียน ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของเทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ราชภัฏอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัย. (2556). คู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เลขาธิการรัฐสภา, สำนักงาน. (2545). “กลยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาทีมงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ,” เอกสารข่าวสารงานวิจัยและพัฒนา 15, 163 (กันยายน): 51.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (ม.ป.ป.). นโยบายหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2554-2561). สืบค้นจาก http://.www.onec.go.th
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2552). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
________. (2551). (ร่าง) แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. เอกสารประกอบการประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2552) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2551). “ภาวะผู้นำกับการสร้างทีมงาน” การบริหารการศึกษา. 11, 48 (9 พฤศจิกายน): 32
Fischer, C.F. Supervision of Instruction. Retrieved October 15, 2008 from http://www.stanwartz.com/adminbook/chap3.htm.
Senge, Perter M. (1990). The art practice of the Learning Organization. 5th ed. New York: Doubleday.