การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันสำหรับผู้เรียนดนตรี
คำสำคัญ:
ชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลัน, ผู้เรียนดนตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันประกอบเสียง 2)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันประกอบเสียงสำหรับผู้เรียนดนตรี 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนดนตรีที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันประกอบเสียง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา ภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาทและวิชาดนตรีตะวันตก 1 ในภาคการศึกษา 1/2561 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันประกอบเสียง แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันสำหรับผู้เรียนดนตรี แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนดนตรีที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันประกอบเสียง และแบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการหาความสอดคล้องของแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test ) ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันประกอบเสียง มีประสิทธิภาพ 80.61/88.00 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันประกอบเสียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันประกอบเสียง ในภาพรวมอยู่ระดับดีมาก ระดับค่าเฉลี่ย 4.59
References
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ (2548). การวิจัยทางศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2555). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด
ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2535). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา พันธุ์เจริญ (2558). ทฤษฎีดนตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา พันธุ์เจริญ (2552). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก วันที่ 19 สิงหาคม 2542.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฮ้า ออฟเดอร์มีสท์.
พิเศษ ภัทรพงษ์ (2540). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองวิชากีตาร์เบื้องต้นสำหรับผู้เรียนกลุ่มสนใจ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ (2531). หลักการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพ ฯ: ศึกษาพร.
สมนึก อุ่นแก้ว (2536). ทฤษฎีดนตรีแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ บริษัท จูนพับลิชชิ่ง จำกัด.
สมศักดิ์ สนใจ (2542). การพัฒนาชุดการสอนการอ่านและร้องโน้ตสากลในรายวิชา ดส. 1114 คีตศิลป์สากล 2 ในวิทยาลัยนาฏศิลป. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาดนตรีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุพจน์ ยุคลธรวงศ์ (2540). การพัฒนาชุดการสอนไวโอินตามแนวของชูชาติ พิทักษากร นิสิตนักศึกษาที่ไม่ได้ ศึกษาไวโอลินเป็นวิชาเอก. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรนุชา อัฎฎะวัชระ (2545). การนำเสนอแบบฝึกทักษะการเป่ารีคอร์เดอร์โดยใช้โน้ตสากลด้วยวิธีผสมผสานการอ่าน โน้ตกับการร้องโน้ตสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุชา พัทธรัตนะโมฬี (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการสะสมรูปแบบของจังหวะด้วยสื่อการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อฝึกการอ่านโน้ตแบบฉับพลันสำหรับนักเรียนกีตาร์ในระดับชั้นต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาดนตรีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Arnold, Denis (1983). The new oxford companion to music. Scotland: Oxford University Press.
Charles R. Hoffer (1974). Teaching Music in Secondary Schools. California: United states of America: A Division of Wadsworth, Inc.
Kaphan, Max (1966). Musicianship for classroom teacher. Chicaco: Rand McNally company.