แนวทางการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อภัย สบายใจ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • สมานจิต ภิรมย์รื่น มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการศึกษา, การจัดการระบบคุณภาพ, โรงเรียนมาตรฐานสากล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสภาพของการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา อีกทั้งยังต้องการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และปัจจัยอิทธิพลต่อการทำนายแนวทางการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 57 ข้อไปใช้เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 315 คนมาใช้ในการวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้ทดสอบคุณภาพแบบสอบถามแล้วได้ผลการทดสอบความตรงเชิงสอดคล้องวัตถุประสงค์ หรือได้ค่า IOC ระหว่าง .60 - 1.0 ส่วนผลการทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่า Alpha ทั้งฉบับเท่ากับ .98 แล้วจึงนำแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการใช้สถิติอ้างอิง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ แล้วพบว่า ค่าเฉลี่ยตัวแปรหลักทั้งสามตัวแปร การบริหารจัดการศึกษา การจัดการระบบคุณภาพ และโรงเรียนมาตรฐานสากลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และยังมีทิศทางความสัมพันธ์กันในเชิงบวกของทั้งสามตัวแปรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนข้อค้นพบสำคัญคือ แนวทางการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษานั้นประกอบด้วยปัจจัยอิทธิพลด้านภาวะผู้นำ ผู้นำมืออาชีพ การมีส่วนร่วม การจัดสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร โดยที่ปัจจัยทั้งหกด้านมีอิทธิพลต่อการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ผู้บริหารและครูโรงเรียนมาตรฐานสากลสามารถนำเอาปัจจัยอิทธิพลทั้งหกด้านไปพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียนควบคู่ไปพร้อมกัน โดยเฉพาะการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของขีดความสามารถ ปัญหาการพัฒนาขีดความสามารถ และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถสูงสุดแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

References

ประวิต เอราวรรณ์. (2560). ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบเพื่อคนทั้งมวล, วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 4(1), 57-70.

พงษ์อิศรา ประหยัดทรัพย์ และพรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ. (2558). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานี, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 89-99.

เพลินตา กะลัมพากร ศักดา สถาพรวจนา และสมบัติ คชสิทธิ์. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, วารสารสักทอง, 20(2.2), 57-66.

วจีพร แก้วหล้า จินตนา จันทร์เจริญ และวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2558). การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37, Veridian E-Journal,
Silpakorn University, 8(1), 1099-1107.

ศิริรัตน์ จำปีเรือง และอมรรัตน์ วัฒนาธร. (2553). ความรู้ที่จำเป็นของคนยุคเศรษฐกิจฐานความรู้, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(1), 165-171.

สิริมา เปียอยู่ สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส และขวัญดาว แจ่มแจ้ง. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลในเขตภาคเหนือตอนล่าง, วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 12(1), 260-274.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา, วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 8(1), 1-17.

อารีย์ นัยพินิจ ภัทรพงษ์ เกริกสกุล และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 7(1), 1-12.

Bian, H. (2016). Office for Faculty Excellence.

McKim, C.A. (2017). The values of mixed method research: a mixed methods study, Journal of Mixed Method Research, 11(2), 202-222.

Richmond, B. (2006). Introduction to data analysis handbook, Academy for Educational Development.

Singh, A.S., & Masuku, M.B. (2014). Sampling techniques & determination of sample size in applied statistics research: an overview, International Journal of Economics Commerce and Management, 2(11), 1-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28