ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าตำรวจภาคอีสานตอนบน ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมในการทำงาน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
งานวิจัยแบบผสมเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าตำรวจภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าตำรวจภาคอีสานตอนบน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าตำรวจภาคอีสานตอนบน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าตำรวจภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย ทั้งนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบสอบถามจากการทบทวนวรรณกรรมแล้วนำไปทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง และทดสอบความเชื่อมั่นภายในระหว่างข้อคำถามได้ค่า KMO อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่า Cronbach's Alpha ทั้งฉบับเท่ากับ .96 และมีความเชื่อมั่นรายกรอบเท่ากับ .95 และ .86 เรียงตามลำดับ แต่อย่างก็ตามผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบคุณภาพแล้วไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าตำรวจภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย จำนวน 318 คนนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ รวมถึงสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณสำหรับการพยากรณ์แนวทางพัฒนาตามวัตถุประสงค์วิจัย ซึ่งค้นพบว่าระดับค่าเฉลี่ยตัวแปรการมีส่วนร่วมในการทำงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าตำรวจ อยู่ในระดับมาก โดยที่ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนข้อค้นพบสำคัญนั้นพบว่าการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าตำรวจมีปัจจัยอิทธิพลประกอบด้วยด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยตัวแปรอิทธิพลทั้ง 4 มีสัมประสิทธิ์ในการพยากรณ์ร่วมกันที่ร้อยละ 85.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้โดยมีผลจากการสัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่านที่ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับผลวิจัยนี้ว่า แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของเจ้าหน้าตำรวจภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องสร้างความรู้ในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเข้าใจความเข้าในบทบาทหน้าที่ของตนเองเพื่อให้การทำงานของจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิภาพ
References
กรรณิกา กองทอง. (2550). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของพนักงานในกลุ่มบริษัทพนัสโพลทรี่จังหวัดชลบุรี.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา การบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
กองบัญชาการตำรวจนครบาล. (2530). เอกสารวิจัยความคิดเห็นของประชาชนผู้พักอาศัยในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการปฏิบัติงานของตำรวจนครบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ กรมตำรวจ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสาหรับงานวิจัย.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2550. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติสัณห์ ชะนะ, ร.ต.อ. (2548), ประสิทธิภาพของการบริหารงานของตำรวจภูธรจังหวัดตราด. ภายใต้การบริหารงานแบบจังหวัดบูรณาการ, ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร. มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบิริหารทั่วไป. วิทยาลัยการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
กิตติพงษ์ เพ็ชรมุณี. (2543). ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ในตำบลสุเทพอำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง.
กัณณวัน ฟิลลิปสและคณะ. (2560). รายงานฉบับสมบูรณโครงการประเมินประสิทธิภาพสถานีตำรวจและความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ประจำประงบประมาณ พ.ศ.2560 ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท, โดย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.กรุงเทพมหานคร.
เข้มแข็ง ขันแข็ง. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท สยามกลการอุตสาหกรรม จ้ากัด. ปัญหาพิเศษ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
คนึงนิจ อนุโรจน์. (2548). การสร้างความตระหนักรู้ในองค์กร. สืบค้นจากhttp://www.resarchers. in.th.biog/hrdresearch/1276
Bowditch, J L., & Buono, A.F. (1990). A primeron Organizational Behavior. 2 nd ed. New York : John Wiley and Son.
Creswell, J. W. (2003). Research design. Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches(2nd ed.). Thousand Oaks: Sage Publications.
Cohen, J.K. & Uphoff, N.T. (1986). World Development. New York: McGraw -Hill.
Davis, K. & Newstrom, J. W. (1989). World Human Bavior at Work. 8 ed New York: McGraw -Hill.
Feigenbaum, A. V. (1991). TQM. (3rd ed.). New York : McGraw – Hill.
Gustavo, W. (1992), Community participation proceeding, Columbia: Habinet.
Herzberg, F. (1959). Federick; Mausner, Bernard; and Synderman, Block the Motivation to. Work.New York:
Kose, P. (2006).Financial Globalization: A Reappraisal. IMF Working Paper, WP/06/189.
Koontz, H. & Others. (1986). Essential of Management. New York : McGraw-Hill.
Kaiser, S. M. (2000). Mapping the Learning Organization: Exploring a Model of Organizational Learning. Ph. D.Dissertation, Louisiana State University, U.S.A.
Kose, P. (2006). Financial Globalization: A Reappraisal. IMF Working Paper, WP/06/189.Last Visited. (2012). THE OECD DACHANDBOOK ON SECURITY SYSTEM REFORM (SSR) : SUPPORTING SYSTEM SECURITY ANFJUSTICE, [Online]. Available at, ,(Last visited February 15,2012).//www.oecd.org/dataoecd/43/25/38406485.pdf
Likert Scales. (1957). Education Research Methodology and Edwards,Allen Louis.1957. Technique of Attitude Scale Construction. New York.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, Third edition, New York: Harper and Row Publication.