การศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดและแนวทางการส่งเสริมสนับสนุน การจัดสรรเงินทุนพัฒนาพรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสร้างความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมืองไทย

ผู้แต่ง

  • ธนภัทร ปัจฉิมม์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

พรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, ประชาธิปไตย, พรรคการเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและยืนยันองค์ประกอบการส่งเสริมสนับการจัดสรรเงินทุนพัฒนาพรรคการเมืองและพรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสร้างความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมืองของไทย โดยผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยในลักษณะผสมผสานวิธีการแบบต่อเนื่องเชิงสำรวจ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 ศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่ม ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง หัวหน้า/กรรมการบริหารพรรค ประธานสาขาพรรค/กรรมการสาขาพรรค ตัวแทนสมาชิกพรรคของแต่ละพรรค วิเคราะห์เนื้อหาและจำแนกองค์ประกอบความร่วมมือ ระยะที่ 2 ศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กับกลุ่มตัวอย่างทั้งสี่กลุ่มที่คัดเลือกแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และระยะที่ 3 ศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มเดิมแล้วทำการวิเคราะห์ เนื้อหาข้อมูลที่ได้ ผลการวิจัยพบว่า พรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเหล่านี้จัดตั้งขึ้นจากตัวบุคคลและได้รับการจัดสรรเงินจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองเป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคและไม่พบว่าจะมีการได้รับเงินจากแหล่งทุนอื่น ในขณะที่การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองว่าด้วยการสร้างความเป็นประชาธิปไตยของพรรคขาดความเข้มแข็งอันจะนำไปสู่การเป็นสถาบันทางการเมืองได้ ในขณะที่เจตนารมณ์ของการจัดสรรเงินจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นมีสัมพันธ์กับ 4 องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบหลักที่1 “การสนับสนุนเงินโดยรัฐ” องค์ประกอบหลักที่2 “เสรีภาพการจัดตั้งพรรคการเมือง” องค์ประกอบหลักที่3 “การดำเนินกิจการของพรรค” องค์ประกอบหลักที่4 “การจัดโครงสร้างพรรคการเมือง” มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (2542) สำนักงาน. รายงานการวิจัยติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองที่ได้รับการจัดสรรเงินจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ประจำปี 2542 โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, (อัดสำเนา)

คณะกรรมการการเลือกตั้ง, (2543) สำนักงาน. รายงานการวิจัยติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองที่ได้รับการจัดสรรเงินจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ประจำปี 2543 โดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, (อัดสำเนา)

คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง (2554) คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองประจำปี 2554 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2553. (อัดสำเนา)

เชาวน์วัศ เสนพงศ์ (2549) การเมืองไทยยุคปัจจุบัน: ปัญหาการพัฒนาพรรคการเมืองในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2549.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (กันยายน 2547) การอุดหนุนเงินให้พรรคการเมืองโดยรัฐและการควบคุมเงินบริจาค: การปรับปรุงระบบของประเทศไทยโดยศึกษาเปรียบเทียบกับระบบของประเทศเยอรมัน. วารสารนิติศาสตร์ 34 น.411-435.

สดศรี สัตยธรรม.(กรกฎาคม-กันยายน 2553) การสร้างพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง: ความท้าทายภายใต้ระบอบประชาธิปไตย. วารสารพรรคการเมืองสัมพันธ์ 15 น.6-17.

Comrey, AL., & Lee, HB. (1992). A first course in factor analysis. (2nd ed.). Hillsdale: Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-08