การพัฒนาบทเรียนเรื่องการผลิตสื่อประกอบการสอนในรูปแบบ Infographic เพื่อใช้ในการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • เกริกศักดิ์ เบญจรัฐพงศ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

บทเรียน, สื่อประกอบการสอน, Infographic

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)สร้างและหาคุณภาพบทเรียน 2)หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียน 3)หาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียน เรื่อง การผลิตสื่อประกอบการสอนในรูปแบบ Infographic เพื่อใช้ในการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ซึ่งลงทะเบียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลาก ได้มา 1 ห้อง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ บทเรียน เรื่อง การผลิตสื่อประกอบการสอนในรูปแบบ Infographic เพื่อใช้ในการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี แบบทดสอบสำหรับหาประสิทธิภาพของบทเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพบทเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญผลการวิจัยพบว่า บทเรียนที่พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.28 โดยภาพรวมแล้วอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 19.07 คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 22.77 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียน มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.28 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

กาญจนา อรุณสุขรุจี, (2540), จิตวิทยาทั่วไป, สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, กรุงเทพฯ, หน้า17.

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, (2551), สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ [Online], Available: http://arch.kbu.ac.th/vis-communication.html [25 พฤศจิกายน 2557].

ชัยรัตน์ อัศวางกูร, (2548), ออกแบบให้โดนใจ, สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กระทรวงอุตสาหกรรม, บริษัท ทั้งฮั่วซินการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, หน้า 13-25, 170.

ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียนกระทรวงศึกษาธิการ, (2546), ข้อดีและข้อเสียของสื่อมัลติมีเดีย[Online],Available :http://chanmedia.bkk2ict.net/multimedia/multi_lesson/index7.html [25 พฤศจิกายน 2557].

ศาตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด นิ่มเสมอ, (2557), องค์ประกอบทางศิลปะ สำนักพิมพ์อัมรินทร์ กรุงเทพฯ, หน้า40.

สถาพร สาธุการ,(2557) รูปแบบของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางการศึกษา [Online], Available: http://goleng23.multiply.com/journal/item/8 [25 พฤศจิกายน 2557].

วรรษมน โลกานุวัตรเสถียร,(2557)หลักการใช้สื่อและผลิตสื่อ/นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ https://www.gotoknow.org/posts/545860 [26 พฤศจิกายน 2557].

วัชรี โชติรัตน์, (2551), องค์ประกอบศิลป์ [Online], Available : http://www.watchari.com/board/index.php?topic=1315.0 [26 พฤศจิกายน 2557].

วิรุณ ตั้งเจริญ, (2537), ออกแบบ 2 มิติ, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, หน้า 100.

เอนกลาภ สุทธินันท์,(2557), อย่างไรให้เป็นระบบ (SYSTEMATIC THINKING) [Online], Available: www.aneklarp.com/download/document/p1.ppt [26 พฤศจิกายน 2557].

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, (2538), รายงานการประเมินความสามารถทางภาษาของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา และสถานการณ์การดำเนินการเรียนการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ, หน้า 145-146.

Worthen and et al., (2536), ความหมายของการประเมินผล, สุวิริยาสาส์น, กรุงเทพฯ, หน้า 54-55.

รุจิร์ ภู่สาระ , (2545), การพัฒนาหลักสูตรตามแนวปฏิรูปการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 1, บู๊คพอยท์, กรุงเพทฯ, หน้า 138.

นงนุช ภัทราคร, (2538), สถิติการศึกษา, สำนักพิมพ์สุวิริยาสาสน์, กรุงเทพฯ, หน้า 67.

เสกสรร แย้มพินิจ, (2543), ชุดการสอนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องการผลิตคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า 10-124.

ภูวนิติ์ สุดทองคง, (2545), บทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน เรื่อง พื้นฐานการออกแบบกราฟิก,วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า ข.

สรกฤช มณีวรรณ, (2550), ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาการเรียนจากรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ต่างกันและผู้เรียนที่มีแบบการเรียนที่ต่างกัน ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, หน้า 130.

สุมาลี จันทร์ชลอ, (2542), การวัดและประเมินผล, บริษัทพิมพ์ดี จำกัด, กรุงเทพฯ, หน้า 45-47, 55.

Ward, R., (1998), “Active, Collaborative and Case-based Learning with Computer-based Case Scenarios.”, Computers in Education, Vol. 30, No. 12 , pp. 103-110.

Kevin K., Introduction to Instructional Design and The ADDIE Model [Online], Available : www.e-learningguru.com/articles/art2_1.htm, [26 พฤศจิกายน 2557].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28