การพัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่น 46 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • นภัทร บุญเทียม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ภาวะผู้นำ, นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ทราบองค์ประกอบของภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่น 46 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่น 46 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 3) เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่น 46 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ วิธีวิจัย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำทางสุขภาพและการพัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล 2) การประเมินการมีภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่น 46 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 3) การวิเคราะห์ภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในแต่ละองค์ประกอบ ขั้นตอนที่ 4) เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ขององค์ประกอบโดยจัดสนทนากลุ่มตัวแทนนักศึกษาจำนวน 8 คน ขั้นตอนที่ 5) สรุปและเสนอรายงานผลการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่น 46 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ มีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ในการดูแลสุขภาพ 2) ด้านบุคลิกภาพ 3) ด้านการเข้าใจความแตกต่างของบุคคล 4) ด้านทักษะในการสื่อสาร 5) ด้านการเคารพสิทธิส่วนบุคคล ผลการพัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 รุ่น 46 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีของการวิจัย

References

Bass, B.M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectation. New York : The Free Press.

Chanthana Phinijjun. (2001). The Skill Needed to Promote the Health of the Health Services Area 2. Master of Public Health Thesis, Chiang Mai University.

Choochai Supavong, et. all. (2009). The Service Manual of District Health Promotion Hospital.Bangkok : T Sivapee Co., Ltd.

Junthima Niljoy. (2004). Competencies of Nurses in Primary Health Care Unit. M.A. Thesis,Master of Nursing Administration, Faculty of Nursing, Chulalongkorn University.

Jirapa Kumpisuit. (2004). Development of Indicators and Performance Evaluation Criteria of Nurses inCommunity Health Centers. M.A. Thesis, in research and Evaluation, Faculty of Education,Naresuan University.

Pimjai Aunban. (2012). Model for Health Promotion Leadership Development of Nursing Students in Nursing College under Praboromrajchanok Institute, the Ministry of Public Health. Dissertation of Degree of Doctor of Philosophy (Research and Development in Education), Faculty of Education, Chiang Mai University.

Praboromarajchanok Institute, the Ministry of Public Health. (2002). Graduate Program in Nursing. [Online].Available : http://www.pi.ac.th/cours/01_1_0course.php (4 March 2018)

Praboromarajchanok Institute, the Ministry of Public Health. (2011). Guide for Identification Process for students, Praboromarajchanok Institute, the Ministry of Public Health. Bangkok : Yutharin Press.

Robbins, Stephen P. (1996). Organizational Behavior. 7th ed. New Jersey : Prentice Hall

Sumrherng Yangkratok and Ruchira Mangklasiri. (2004). Community Health Centers : Path to the Desired Service. Bangkok : Sangchot Marketing.Thailand Nursing and Midwifery Council. (2009). Nursing and Midwifery Profession Act (2). 1997. [Online]. Available : http://www.tnc.or.th/index.php (2 April 2018)

World Health Organization. (1986). Ottawa Charter for Health Promotion First International Conference on Health Promotion Ottawa, 21 November 1986. [Online]. Available : WHO/HPR/HEP/95.1 ( 4 March 2018)

World Health Organization. (2008). The World Health Report. [Online]. Available : http://www.who.int/whr/2008/en/. (10 April 2018)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28