การบริหารโรงเรียนประจำตามแนวคิดความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ดารัตน์ กันเอี่ยม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นันทรัตน์ เจริญกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารโรงเรียนประจำ, ความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประจำและความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลกก้าวผ่านจากศตวรรษที่ 20 เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ส่งผลกระทบทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการเมืองของทุกประเทศ โดยเฉพาะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ทำให้ทั้งโลกเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว เป็นโลกไร้พรมแดน โรงเรียนประจำ (Boarding School) หรือที่เรียกว่า โรงเรียนกินนอนนั้น เป็นโรงเรียนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีรูปแบบและวิธีจัดการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ที่นอกเหนือแตกต่างไปจากโรงเรียนไปมาทั่วไป คือ จัดให้นักเรียนพักอาศัยอยู่ที่โรงเรียน โรงเรียนเหล่านี้นอกจากจะมีภารกิจในการจัดการศึกษาแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ในการดูแลนักเรียนในช่วงที่อยู่โรงเรียนด้วย ทั้งนี้โรงเรียนประจำจะมีปรัชญา เป้าหมาย และแนวทางการจัดการศึกษาของตนโดยเฉพาะ ซึ่งนอกเหนือจากภารกิจในการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังคงต้องดำเนินการในการกล่อมเกลาอุปนิสัยอันเกิดจากระบบการอยู่ร่วมกัน และต้องจัดการดูแลนักเรียนประจำตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น โรงเรียนประจำจึงมีภารกิจมากกว่าและแตกต่างไปจากโรงเรียนในลักษณะอื่น ประเด็นการบริหารงานของโรงเรียนเพื่อให้บรรลุปรัชญา เป้าหมายและแนวทางจัดการศึกษาของโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษา

References

กรมวิชาการ. 2542. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และการวิเคราะห์สาระสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

นภาเดช บุญเชิดชู. 2544. การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานโรงเรียนระหว่างโรงเรียนประจำเอกชนประเภทพับลิคสกูลกับโรงเรียนประจำเอกชนประเภทอื่น ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.เตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. 2552. การบริหารและจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ยูนิแกงค์. 2560. 400 โรงเรียนมัธยมศึกษา (ม.6) ที่เก่งที่สุดในประเทศไทย โรงเรียนที่อยู่ในการจัดอันดับคะแนน O-NET สูงสุด 400 อันดับแรกของประเทศ (ค่าเฉลี่ยมรวม 5 วิชา ไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์) ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2559 (สอบก.พ.ปี 60). http://www.unigang.com/Articile/42322.

รังสรรค์ มณีเล็ก. 2549. การวางแผนกลยุทธ์และการจัดทำงบประมาณในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

โรงเรียนเตรียมทหาร. หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหาร ฉบับปรับปรุง 2560. โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย. 2560.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. 2548. รายงานการวิจัยเอกสารการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.องค์การค้าคุรุสภา.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. ม.ป.ป. คุณลักษณะของพลเมืองดีในศตวรรษที่ 21. เอกสารยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองและพลโลกในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก http://www.kpi.ac.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2554. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

Apple Classrooms of Tomorrow – Today (Producer). 2008. Nov 15. Understanding of 21st century skills and outcomes. Retrieved from ali.apple.com/acot2/principles/

Kay, K. 2011. Seven steps to becoming a 21st century school or district. Retrieved Nov, 14, 2014, from George lucas educational foundation www.edutopia.org/blog/21st-century-leadership-overview-ken-kay.

Lee, W.O. & Fouts, J. (eds.) (2005): Education and Social Citizenship: Teachers' Perceptions in USA, Australia, England, Russia and China. Hong Kong: Hong Kong University Press, 289pp.

Partnership for 21st century skill. (2012). Framework for21st century learning. Retrieved 20 June, 2012, from
http://www.p21.org2index.phpoption=com_conten&task=view&id=254&Itemid=120.https://learningfirst.org/blog/21st-century-education-and-21st-century-citizenship
www.p21.org/.../Reimagining_Citizenship_for_21st_Century_webversio...

UK. Boarding School. The School Admministrative System. [online] 2018 Available from: http//www.boardingschools.org.uk./boarding_school_admin_system.htm[2018, May 4]

UNESCO. 2011. “A Guide to Education for Sustainable Development Coordination in Asia and the Pacific”.www.unescobkk.org/resources/elibrary/publications/article.

UNESCO. 2012. “UNESCO principles on Education for Development beyond 2015.” www.unesco.org/new/.../UNESCOConceptNotePost2015_ENG.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28