รูปแบบสมรรถนะขององค์กรเพื่อความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • วีระศักด์ ธนาพรสิน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สมรรถนะหลักขององค์กร, ความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน, รูปแบบสมรรถนะหลักขององค์กรเพื่อความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนารูปแบบสมรรถนะหลักขององค์กรเพื่อความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนขององค์กรกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้นำองค์กร ผู้จัดการหน่วยธุรกิจ ผู้จัดการส่วนธุรกิจ  ขององค์กรธุรกิจกรณีศึกษาในประเทศไทย จำนวน 12  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่  การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมิน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา และ 2) การกำหนดกลยุทธ์องค์เพื่อสร้างสมรรถนะหลักใหม่เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะนี้ ได้แก่ การสนทนากลุ่มทีมยุทธ์ศาสตร์ขององค์กรจำนวน 10 คน เพื่อกำหนดกลยุทธ์ และนำใช้กลยุทธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะนี้ ได้แก่ การระดมความคิดเห็น  รูปแบบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละและจำนวนของผลสัมฤทธิ์ 
 ผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบสมรรถนะหลักขององค์กรกรณีศึกษาประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 3 ด้าน ดังนี้  คือ 1) ด้านนวัตกรรม    ประกอบด้วย การให้บริการครบวงจรและการพัฒนาสินค้าและบริการ   2 ) ด้านภาพลักษณ์องค์กร ประกอบด้วย  เป็นองค์กรผู้นำในอุตสาหกรรม  ชื่อเสียงองค์กร และการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน  3 ) ด้านการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย  วัฒนธรรมองค์กรและการประหยัดอันเนื่องจากขนาด  การกำหนดกลยุทธ์องค์เพื่อสร้างสมรรถนะหลักใหม่ขององค์กร เป็นการแบ่งประเภทของลูกค้าและนำเสนอข้อเสนอให้ตรงกับกลุ่มลูกค้า  ทำให้ได้สมรรถนะใหม่คือการตลาดอัจฉริยะ  (The marketing intelligence)  ซึ่งเป็นสมรรถนะหลักใหม่ขององค์กรเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของสมรรถนะหลักขององค์กรและสรุปผลการดำเนินงาน คือ ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ อัตราการเพิ่มยอดขาย 10 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มลูกค้าได้ 20 ราย

References

เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร. การเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี :กรณีศึกษา บริษัท อำพลฟูดส์โพรเซพซิ่ง จำกัด.(2013) ได้จาก www. ampolfood.com

อาณัติ ลีมัคเดช และคณะ. องค์กรมีดีไซด์. สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. 2552. 160หน้า.

เอกชัย อภิศักดิ์กุล.การจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 2549: 1-50.

Barney, J.B. Gaining and Sustaining Competitive Advantage, 4th ed. Pearson, New York, USA, 2011.

Barney, J.B. and Hesterly, W. Strategic Management and Competitive Advantage : concept and cases, 5thed. Pearson, New Jersey, USA, 2015.

Cormeli, A. Organizational Reputation as a Sources of Sustainable Competitive Advantage and Above-Normal Performance: An Empirical Test among Local Authorities in Israel. Public Administration & management: An Interaction Journal. 6/4 (2001); 122-165.

Grant, R.M. Contemporary Strategy Analysis, 7th ed. John Wiley & Sons, ltd, 2010.

Hill, C.W. and Jones, G.R. Strategic Management : An Integrated Approach,7th ed. Houghton Mifflin Company, Usa, 2007.

Kay, J. Kay’s Distinctive Capabilities Framework-A Study มาจาก www.tools4management.com/article/kays-distintive-capabilities-framework-a-study (1993)

Papula, J. and Volna, J. Core Competence for Sustainable Competitive Advantage.Multidisciplinary Academic Research, 2013.

Pwc energy consulting. Delivering operational excellence : oil and gas capabilities. ได้จาก www.pwc.com/energy.

Sony, M. Implementing sustainable operational excellence in organizations: an integrative viewpoint. PRODUCTION & MANUFACTURING RESERCH. 7/1 (2019) : 67-87.

Titov, D. and Protiv, S. Comparative Study of Industry and Resource-Based Approaches to Strategy : the case of managerial education industry in Sweden. Master Thesis in Strategy of Stockholm School of Economies, 2006: 1-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29