การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบริการเพื่อส่งเสริมการบริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ผู้แต่ง

  • อัญมาศ ภู่เพชร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • จิตชิน จิตติสุขพงษ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • วัลย์ทิชา ดาบทอง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • รุ้งทิวา อนุจร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • สกุณทิพ ชิดสูงเนิน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การตลาด, ตลาดบริการ, ส่งเสริมการบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบริการเพื่อส่งเสริมการบริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำแนกตามเพศ ชั้นปี คณะ และเกรดเฉลี่ยสะสม   กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 385 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. ระดับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักศึกษามีความคิดเห็นต่อการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบริการทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. นักศึกษาที่เพศต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบริการโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกระบวนการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักศึกษาที่เรียนชั้นปีต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบริการโดยรวมไม่แตกต่างกัน  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านผลิตภัณฑ์และด้านหลักฐานทางกายภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 4. นักศึกษาที่เรียนคณะต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบริการโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านบุคคล และด้านกระบวนการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 5. นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบริการโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านหลักฐานทางกายภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

พรรณิภา สุขคี้. (2559). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน 3) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พาชื่น ติวานนท์ (2546). รายงานการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. โดมทัศน์, 24(1), 39 - 51.

พิมล เมฆสวัสดิ์. (2549). การประเมินคุณภาพการบริการสำนักงานหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นภา มิ่งนัน. (2556). การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการบริการสารสนเทศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. งานวิจัยบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

นิติพร สุนทรนนท์. (2551). การคืนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนดส่งของผู้ใช้บริการห้องสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการ, 19(1), 105 - 119.

แนวโน้มห้องสมุด. (2554). สืบค้นเมื่อ 2562, มกราคม 21, เข้าถึงได้จาก: https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/3139-library-trends

ภาษิณี ปานน้อย. (2553). การบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริวุฒิ สิงห์คา และปัทมา ดงเจริญ. (2554). โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจระบบบริหารจัดการห้องสมุดโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID (Radio frequency identification) กรณีศึกษา ห้องสมุดโรงเรียนบรบือ วิทยาคาร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่ม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

Library trends.Retrieved January, 21, 2019 from https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/3139-library-trends

Napa Mingnon. The use of marketing strategies to promote information services of the Office of Academic Resources and Information Technology Uttaradit Rajabhat University. Uttaradit :Uttaradit Rajabhat University. 2013.

NitipornSoonthornnon. The return of John F. Kennedy Library Services, Prince of Songkla University. Academic Services Journal year 2008, 19(1), 105 - 119.

Office of the National Education Commission. National Education Act BE 2542 (1999) Amendment (2nd edition) 2002 and (3rd edition) 2010.Bangkok :Authors.

Pachuen Tiwanon.A Survey of Library User’s Satisfaction of the Service Provided by Thammasat University Libraries in academic year 2003. 24(1), 39 - 51.

Pasini Pannoi. Alternative : Proactive Information Services for Public University Libraries. Bangkok : Graduated school, Ramkhamhaeng university. 2010.

Pimol Meksawat. Service Quality Assessment of Central Library, Srinakharinwirot University. Bangkok : Central library, Srinakharinwirot University. 2006.

Pranipa Sukkhee.Students satisfaction on library service of watlang(borwornwitayayon 3) School, under chachoengsao primary educational service area office 1.Bangkok :Graduate School, Burapha University. 2016.

Robbins, S. P. Organization theory: Structure, design and applications(3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. 1990.

Siriwut Singha and PattamaDongcharoen. Business Information Technology Project by Library Management SystemApplication of RFID technology (radio frequency identification), case studies of the Borabue School Library College.Mahasarakham: Mahasarakham University. 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29