การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • นภัสชญา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เผ่าพงษ์พัฒน์ บุญกะนันท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การบริหารกิจกรรมลูกเสือ, โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการบริหารกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ระยะที่ 1 ศึกษาการบริหารกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนต้นแบบลูกเสือสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ระยะที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อตรวจสอบรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

           1. การบริหารกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยกิจกรรม 4 ด้าน คือ 1) ด้านลูกเสือ 2) ด้านผู้บริหารโรงเรียน 3) ด้านผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และ4) ด้านการเรียนการสอนและมวลกิจกรรมลูกเสือ จากการสัมภาษณ์ พบว่า ด้านลูกเสือ การสอนเน้นกระบวนการกลุ่ม กิจกรรมกลางแจ้ง ระเบียบวินัย การทำความเคารพ การระลึกถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ระเบียบแถว ด้านผู้บริหารโรงเรียน พบว่า ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนมีวุฒิทางลูกเสือ ขั้นความรู้ชั้นสูงขึ้นไปและการแต่งเครื่องแบบลูกเสือเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี มีการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างสม่ำเสมอ ด้านผู้บังคับบัญชาลูกเสือ พบว่า มีการส่งเสริมให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือเพิ่มคุณวุฒิและทักษะหรือประสบการณ์ทางด้านลูกเสือ และด้านการเรียนการสอนและมวลกิจกรรมทางด้านลูกเสือ พบว่า มีกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ตรงตามหลักสูตรและส่งเสริมให้ลูกเสือได้เข้าร่วมกิจกรรมสำคัญ ๆ ที่เกิดประโยชน์ . การสร้างรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) งานทะเบียน ควรนิเทศการจัดทำทะเบียนและเอกสารทางลูกเสืออย่างต่อเนื่องอย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง การจัดระบบสารสนเทศทางลูกเสือในโรงเรียน การจัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ในการจัดทำเอกสารของผู้กำกับลูกเสืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามีหน้าที่ประสานงานระหว่างโรงเรียนกับสำนักงานลูกเสือเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน 2) งานพัสดุ ควรจัดห้องสื่อและวัสดุอุปกรณ์การสอนกิจกรรมลูกเสือให้เป็นระบบเพื่อความสะดวกในกิจกรรมการเรียนการสอน มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ มีทะเบียนคุมสื่อและอุปกรณ์ มีการบำรุงรักษาและซ่อมแซมให้พร้อมใช้งาน จัดซื้อ จัดหาหรือผลิตให้เพียงพอกับการใช้งาน มีกลุ่มเครือข่ายแลกเปลี่ยนสื่ออุปกรณ์ 3) หลักสูตร มีการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตร ภาคเรียนละ 1 ครั้ง 4) งานวัดผลประเมินผล นิเทศการวัดผลประเมินผลกิจกรรมลูกเสืออย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการวัดและประเมินผลแนวทางเดียวกัน มีแผนการสอนหรือกำหนดการสอนเป็นระดับชั้นร่วมกันอย่างเป็นระบบ 5) การรายงานผล จัดให้มีระบบกำกับ ติดตาม เผยแพร่ วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนากิจกรรมลูกเสือในปีการศึกษาต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

แก้วเวียง นำนาผล. (2551). การพัฒนาตัวแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขนาดเล็ก.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. (สาขาการบริหารการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉลองรัฐ อินทรีย์. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. (สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไชยา วิญญาสุข. (2557). การบูรณาการจัดกิจกรรมลูกเสือระดับชั้นอนุบาล สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. (สาขาวิชาการบริหารจัดการศึกษา) . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

เตือนใจ รักษาพงศ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______________. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ. : ข้าวฟ่าง.

บริหารลูกเสือแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการ.(2551). พระราชบัญญัติลูกเสือ พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ.

_______________. (2546). การบริหารโรงเรียนในยุคปฎิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

_______________. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฎิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

นิพนธ์ กินาวงศ์. (2544). หลักบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). พิษณุโลก : ภาควิชาบริหารและ พัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร

บุญดี บุญญากิจ. (2549). การจัดการความรู้จากทฤษฏีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

บุญส่ง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย.วิทยานิพนธ์ดุษฎีครุศาสตรบัณฑิต. (สาขาการอุดมศึกษา). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษา. หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต.(สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. (2550). การพัฒนารูปแบบจัดการความรู้พนักงานภาครัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. (สาขาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, John W. (1978). Research in Education. 3rd ed. New Delhi : Prentice Hall of India Inc.

Marquardt, Michal J. (2002). Building the Learning Organization. 2rd ed. New York : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29