ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อนันต์ สุนทราเมธากุล สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ฐิติพร อุ่นใจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วันวิสา มากดี สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • เกรียงไกร ดำรงสกุล สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์, เจเนอเรชั่นแซด, จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชากร ได้แก่ นักเรียน นักศึกษาที่เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ มีอายุตั้งแต่ 15-21 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า โดยภาพรวมแล้วมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากข้อรายการที่อยู่ในระดับมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความน่าสนใจ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยตัวแปรอิสระ 4 ตัว คือ ด้านกระบวนการ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย

References

กฤษณา ศรีอ่อน และอภิชัย อภิรัตนพิมลชัย. (2560).ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเบเกอรี่ออนไลน์ของลูกค้าในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน หน้า 167-179.

ณัฐรินีย์ พรพิสุทธิ์. (2558). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อ สินค้าออนไลน์ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(การตลาด) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM. (2558). รู้ทัน GEN Z สร้างโอกาสสู่ตลาดผู้บริโภคยุคใหม่. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 31 สิงหาคม2561). จากhttp://www.exim.go.th/doc/newsCenter/45710.pdf

พิริณฎา หลวงเทพ และประสพชัย พสุนนท์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม หน้า 621-638.

มัญชุตา กิ่งเนตร. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารบนอินเทอร์เน็ตของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรรณา วันหมัด. (2558). ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจ ซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต.วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม หน้า 132-141

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ปรับธุรกิจให้ทันรับกระแส E-Commerce โต. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 31 สิงหาคม 2561). จากhttps://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Pages/E-Commerce_E-MarketPlace.aspx

สุณิสา ตรงจิตร์.(2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลาง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace).รายงานการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Belch, G. E., and Belch, M. A. (1998). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective. (4thed.). Irwin: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29