ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0

ผู้แต่ง

  • พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
  • สุกัญญา แช่มช้อย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, คนไทย 4.0,ผู้ประกอบการดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 395 โรง โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูวิชาการ รวม 589 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 ที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา รองลงมาคือ การวัดผลประเมินผล การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาหลักสูตร เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ข้อที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร คือ การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ คือ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล 3) ด้านการวัดผลประเมินผล คือ การกำหนดนโยบายและการพัฒนาเครื่องมือการวัดผล ประเมินผลผู้เรียนที่มีความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล 4) ด้านการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การผลิต การพัฒนาและการใช้สื่อแหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล

References

กมล ภู่ประเสริฐ. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิปสพับบลิเคชั่น, 2544.

กิติมา ปรีดีดิลก. การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต, 2532

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จามจุรี จำเมือง และคณะ. (2552). คู่มือการเตรียมสอบสำหรับผู้บริหารโรงเรียนและผู้บริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ:เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

จำเนียร จวงตระกูล. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนาประเทศไทยสู่ประเทศไทย4.0. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง .1(1). 1-19.

ธนชาติ นุ่มนนท์. (2560). นิยามคนไทย 4.0 คงไม่ใช่แค่คนเล่นเทคโนโลยี.สืบค้นเมื่อ, 28กุมภาพันธ์ 2560,จากhttps://thanachart.org/2017/02/13/

ธนภณ สมหวัง. (2560). มองไทย ผ่านธรรมของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต).สืบค้นเมื่อ, 30 กันยายน 2560, จากhttps://www.matichon.co.th/news/461003.

บังอร พรพิรุณโรจน์ และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2561). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนโยธินบูรณะ ตามกรอบแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียน 4.0.วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 1(3), 19-37.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2559).นวัตกรรมการคิดในห้องเรียน Chula Engineering Education 4.0. สืบค้นเมื่อ, 30 กันยายน 2559,จากhttp://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416982570 ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553).การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สำนักงาน. (2560). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน.สืบค้นเมื่อ, 1 มีนาคม2561, จาก

ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ.(2560). คิดผลิตภาพ: สอนและสร้างได้อย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณพิไลย นรสิงห์. (2560). การพัฒนาคนเพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0.สืบค้นเมื่อ, 10 ธันวาคม 2560, จากhttps://mgronline.com/daily/detail/9600000120293

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป. (2560).เปิด 6 สายงานไอที อนาคตรุ่งรับยุค 4.0. สืบค้นเมื่อ, 1 พฤศจิกายน 2560, จากhttps://www.manpowerthailand.com/tris/content/detail/731.

ยศวีร์ สายฟ้า. (2557). รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา:ก้าวย่างที่สำคัญของเด็กประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.42(3), 143-159.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2558).สภาวะการศึกษาไทย ป 2557/2558 “จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร”. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วิกรานต์ มงคลจันทร์. (2558). Marketing for work งานการตลาดจากการวางแผน สู่การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: อาคเนย์การพิมพ์.

ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn Universityฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ.10(2), 1856-1867.

ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สงัด อุทรานันท์. (2530). ทฤษฎีหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม.

สมาน อัศวภูมิ. การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่4. อุบลราชธานี : หจก. อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, 2551.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์และศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2555). ความล้มเหลวของระบบการประเมินผลการศึกษาไทย: สาเหตุและข้อเสนอแนะ. สืบค้นเมื่อ, 10มีนาคม2562, จากhttps://thaipublica.org/2012/02/failure-thai-educational-system/.

สมบัติ ราชคม. (2557). การบริหารวิชาการที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.37(4), 156-165.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์เมษินทรีย์. (2559). Thailand 4.0: สร้างความเข้มแข็งจากภายใน เชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่โลก.สืบค้นเมื่อ, 7กันยายน 2559, จากhttps://th-th.facebook.com/drsuvitpage/posts/1396306724009387

อภิสิทธิ์ ไชยประสิทธิ์. (2561). Education 4.0 สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ, 1 มีนาคม 2562, จากhttp://www.cioworldmagazine.com/apisith-chaiyaprasith-education-4-0/.

อาคีรา ราชเวียง. (2560). อนาคตผู้ประกอบการในยุค 4.0. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.12(2), 79-88.

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2560). 11 คุณลักษณะของคนไทย 4.0 ที่ต้องปฏิรูปจะช่วยให้ Thailand 4.0 เป็นความจริง (ตอนที่ 1).สืบค้นเมื่อ, 30 เมษายน 2560, จาก http://as.nida.ac.th/gsas/article/11-คุณลักษณะของคนไทย-4-0-ที่ต-2/

อุทัย บุญประเสริฐ. หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: เอส. ดี. เพรส, 2540.

Miller, V. (1965). The public administration of American school system. New York: McMillan.

Walton, H. & Matthews, M. (1989). Essentials of Problem Based Learning. Medical Education. 23(6), 542-558.

World Economic Forum. (2016). The 10 skills you need to thrive in the Fourth Industrial Revolution.Retrieved on November 1, 2017, from: https://www.weforum.org/agenda/2016/01/the-10-skills-you-need-to-thrive-in-the-fourth-industrial-revolution/

World Economic Forum. (2017). The Global Competitiveness Report 2017–2018.Retrieved on November 1, 2017, from:http://www3.weforum.org/docs/GCR2017-
2018/05FullReport/TheGlobalCompetitivenessReport2017%E2%80%932018.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29