ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ตามแนวคิดสมรรถนะตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล

ผู้แต่ง

  • เฉลิมวุฒิ แท่นสุวรรณ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุทธยา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการ, หลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์, สมรรถนะนายประจำเรือพาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล ประชากรจำนวน 4 สถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพาณิชยนาวี ประชากรผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารหลักสูตรประกอบด้วย คณบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัย ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร และหัวหน้าฝ่ายหลักสูตรหรือวิชาการ 2) กลุ่มผู้นำหลักสูตรไปปฏิบัติ ประกอบด้วย ครู อาจารย์ผู้สอนวิชาการเดินเรือ และ 3) กลุ่มผู้เรียน ประกอบด้วยนักเรียนนักศึกษาหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 189 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ตามแนวคิดสมรรถนะตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล ที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง รองลงมาคือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ข้อที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด 1) ด้านข้อกำหนดจำเพาะของหลักสูตร คือการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการกำกับดูแล การขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือ การจัดเก็บสินค้า การรัดตรึงสินค้า การดูแลสินค้าระหว่างเดินทาง การขนถ่ายสินค้าลงจากเรือ 2) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ คือการจัดทำแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการสื่อสารโดยใช้มาตรฐานภาษาอังกฤษทางทะเลที่กำหนดโดยองค์กรทางทะเลระหว่างประเทศทั้งการพูดและเขียน 3) ด้านการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง คือการกำหนดนโยบายและการพัฒนาเครื่องมือการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการกำกับดูแล การขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือ การจัดเก็บสินค้า การรัดตรึงสินค้า การดูแลสินค้าระหว่างเดินทาง การขนถ่ายสินค้าลงจากเรือ

References

งานประกันคุณภาพการศึกษา. (2559-2560). รายงานการประเมินตนเอง :Self Assessment Report SAR. ชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา.

งานประกันคุณภาพการศึกษา. (2559-2560). รายงานการประเมินตนเอง :Self Assessment Report SAR. ชลบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.

งานประกันคุณภาพการศึกษา. (2559-2560). รายงานการประเมินตนเอง :Self Assessment Report SAR. ชลบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชีย.

งานสัมมนา. (2018). Challenges & Future Competencies for Thai Seafarers. (27 มกราคม 2561).สมาคมนักเรียนเก่าเดินเรือพาณิชย์. สมุทรปราการ.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติเรือไทย. (2540).ฉบับที่ 6 มาตรา 7 ทวิ (2540, 7 กรกฎาคม).

สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2555). คู่มือบริหารหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

Bimco and ICS. (2015).The global supply and demand for seafarers in 2015, Manpower Report:UnitedKingdom, Maritime International Secretariat Service Limited.

Chawla P., Skillsets need for 21st Century seafarer. Human factor competencies for the future marine. (Online) 2015. From: http://splash247.com/human-factor-competencies-for-the-future-mariner/.

International Maritime Organization. (2010). STCW Manila seafarer training amendments enter into force on 1 January 2012. From http://www.imo.org/en/Media Centre
Review of Maritime Transport.(2018), United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD), New York
and Geneva.

Smith, E. and Keating, J. (1997), Making Sense of Training Reform and Competency‐Based Training (Wentworth Falls, NSW: Social Science Press).
TRANSAS Global Conference.(2018).(2018, March)Vancouver Canada.

William R. Gregory. (2012), Flags of convenience: the development of open registries in theglobal maritime business and implications for modern seafarers. Georgetown UniversityWashington, D.C.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29