ประสิทธิผลของการนวดราชสำนักในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเฉียบพลัน โรงพยาบาลปากคาด จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศิริ ปัดถาวะโร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สรรใจ แสงวิเชียร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศุภะลักษณ์ ฟักคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การนวดแบบราชสำนัก, ปวดหลังส่วนล่างเฉียบพลัน, โรงพยาบาลปากคาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi experimental research) ศึกษาประชากรกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังดำเนินงาน (one-group pretest posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดราชสำนักต่อการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเฉียบพลัน โดยทำการศึกษาระดับความปวดก่อนและหลังได้รับการนวดแบบราชสำนักและศึกษาเปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังได้รับการนวดแบบราชสำนัก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเฉียบพลัน ที่มารับการรักษาที่หน่วยงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลปากคาด อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 32 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่างเข้า (inclusion criteria) และเกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่างออก (exclusion criteria) ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ Paired Sample T-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการรักษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความปวดระดับ 6 ร้อยละ 62.50 หลังการรักษาด้วยการนวดแบบราชสำนัก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความปวดอยู่ในระดับ 1 ร้อยละ 50.00 และเมื่อเปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยการนวดแบบราชสำนัก พบว่า หลังจากได้รับการรักษาด้วยการนวดแบบราชสำนัก มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.001 โดยระดับความปวดหลังการนวดมีระดับความปวดน้อยกว่าก่อนการนวด

References

ชนะพงษ์ หงส์สุวรรณ วิชัย อึ่งพินิจพงศ์ และอุไรวรรณ ชัชวาลย์. (2557). ผลของการนวดไทยประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา : ศึกษานำร่อง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 26(2), 197-204.

นพวรรณ บัวตูม มนัสนันท์ เริงสันเทียะ สิริพร จารุกิตติ์สกุล และกชกร สุขจันทร์ อินทนูจิตร. (2561). การนวดไทยรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง : กรณีศึกษาหมอพื้นล่างในจังหวัดสงขลา, วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(1). 2561.

นฤมล ลีลายุวัฒน์, วิชัย ถึงพินิจพงศ์, อภิวันท์ มนิมนากร. (2557). ผลของการนวดไทยต่อความอดทนต่อการล้าของกล้ามเนื้อหลังในผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบําบัด 2544; 13: 13-9.

ปริยาภัทร สิงห์ทอง วะนิดา ศูนยะราช เพ็ญนภา ไพคำนาม. (2559). ประสิทธิผลการนวดไทยร่วมกับการใช้ยาสหัสธาราในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อบ่า. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 2(2), 14-24.

พีรดา จันทร์วิบูลย์ และศุภะลักษณ์ ฟักคำ (2553). ประสิทธิผลของการนวดแบบราชสำนักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

โรงพยาบาลปากคาด. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยประจำปีงบประมาณ 2561. (2561). โรงพยาบาลปากคาด จังหวัดบึงกาฬ.

วิชัย ซึ่งพินิจพงศ. การนวดแผนไทยเพื่อการบำบัด. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น, 2551; 54-58.

ศิลดา การะเกตุ นิชกานต์ สุยะราช พัชรินทร์ ใจดี สมบัติ กาศเมฆ สุนทร พรมเผ่า และผณิตา ประวัง. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังจากการรักษาโคลนสมุนไพรพอกเย็นร่วมกับการนวดแผนไทยในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า. เชียงรายเวชสาร, 9(2), 115-124.

ศิวรี เอี่ยมฉวี่ รื่นฤดี พรหมประดิษฐ์ บุหลัน สุเทวี จุฑามาศ สุพรรณ และสุภารัตน์ สุขโข. (2559). ผลทันทีของการนวดแผน ไทยแบบราชสำนักในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 2(1), 1-12.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ. (2562). อาการปวดหลังส่วนล่าง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/ contents/view/84. (สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 25562.)

สุพัตร เดชฉกรรจ์ ธีรนุช ห้านิรัติศัย และธงชัย สุนทราภา. (2556). ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพหลังต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย อาการปวด และความยืดหยุ่นของเนื้อในผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง, ธรรมศาสตร์เวชสาร, 13(4), 513-523.

Sugsamran, P. (2008). "Traditional Health Care and Healing by Folk Healers: Case Study in Amphur Muang, Khon Kaen Province", Thai Traditional and Alternative Medicine. 6(1), 59-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29