การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด

ผู้แต่ง

  • ลาวัลย์ เวชอภิกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วีรฉัตร์ สุปัญโญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาชัญญา รัตนอุบล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, อาสาสมัคร, เอชไอวี/เอดส์, ผู้ใช้สารเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมกับอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดได้อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จำนวน 9 คน2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงผู้ดูแลอาสาสมัครในพื้นที่ จำนวน 4 คน และ 3) กลุ่มเจ้าหน้าที่พยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ จำนวน 5 คนจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด มีความต้องการพัฒนาศักยภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถบ่งออกได้เป็น 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพและความสามารถในการจัดการตนเอง 2) ด้านข้อมูลความรู้ 3)ด้านทักษะความสามารถ และ 4) ด้านทัศนคติ โดยมีข้อเสนอต่อแนวทางการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมสำหรับอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวีเอดส์ คือ 1) ต้องคำนึงถึงความต้องการของอาสาสมัครและเปิดโอกาสให้อาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพด้วยตนเอง 2) ต้องกำหนดแผนและช่วงเวลาการพัฒนาศักยภาพให้มีความชัดเจน ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ 3) ต้องเป็นการเรียนรู้ที่เป็นกันเองและเปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ 4)ต้องเป็นการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้เรียนรู้จากเพื่อนอาสาสมัครด้วยกันผ่านการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ และ 5)ต้องเป็นการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้แบ่งปันประสบการณ์ชีวิตด้านอื่นๆที่นอกเหนือจากการปฏิบัติงาน

References

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. (2555). รายงานความก้าวหน้าของประเทศไทยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ รอบปี พ.ศ. 2555.

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. (2556). เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ครั้งที่ 2/2556 วันที่ 31 กรกฎาคม 2556.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2557). รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อมอบนโยบายและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด ปีงบประมาณ 2557; วันที่ 17-18 มีนาคม 2557 ณ โรงแรมอีสติน, กรุงเทพฯ.

สำนักงานพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. (2557). คำสั่งศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดที่ 1/2557 เรื่องแนวทางการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีการฉีด. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส.

สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2556). ความชุกและอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยพ.ศ. 2556. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข

Boyle, P.G. (1981). Planning Better Program. USA : McGraw-Hill, Inc.

Collison, Chris and Parcell, Geoff. (2004). Learning to fly Practical knowledge management from some of the world’s leading learning organizations. Capstone, Chichester, GB. 312 p.

Knowles, M. S. (1980). The modern practice of adult education : From pedagogy to andragogy (revised and updated). Chicago, USA : Follett Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29