การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • อุดม อินทา สาขายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ณัฐรดา วงษ์นายะ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การดำเนินงานส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนา ทดลอง และประเมินผลการทดลองใช้กลยุทธ์การดำเนินงานส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษาการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ(Connoisseurship) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 392 คนกลุ่มทดลอง ได้แก่ ครู และผู้บริหารสถานศึกษา 1 แห่ง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษา พบว่า

               1.กลยุทธ์การดำเนินงานส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา มี8 กลยุทธ์ ได้แก่1) ส่งเสริมการเรียนรู้หลักประชาธิปไตยให้กับบุคลากรในสถานศึกษา 2) ส่งเสริมการวางแผนการดำเนินงานส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วม 3) ส่งเสริมการดำเนินงานส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 4)ปรับปรุงกระบวนการ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล5) เร่งรัดการนำผลการประเมินไปใช้ 6) ส่งเสริมการนำกระบวนการประชาธิปไตยไปบูรณาการการจัดการเรียนรู้7) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามวิถีประชาธิปไตย และ 8) ส่งเสริมเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา

            2.ผลการทดลองใช้กลยุทธ์การดำเนินงานส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกกลยุทธ์ได้แก่1) บุคลากรมีความตระหนัก และความรู้ ความใจในการดำเนินงานส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา 2) บุคลากรมีความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วม

References

กาญจนา เอียดสุย. (2560). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครอง โรงเรียนเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
กฤษ พรมจันทร (2557). การมีส่วนร่วมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบาลราชธานี.

ข้าราชการพลเรือน, สำนักงาน. (2560). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ.[Online] Available :https://www.ocsc.go.th/download/2560/การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ-ebook. [2560, ธันวาคม 27].

คณะกรรมการการเลือกตั้ง, สำนักงาน. (2557). คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

คณะกรรมการการเลือกตั้ง, สำนักงาน.และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557).แนวทางการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยฯ ตามจุดเน้นที่ 3 ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1, สำนักงาน. (2557). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558. กำแพงเพชร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องคก์ารบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นวลละออง อุทามนตรี, (2558, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาบุคลากร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยอบุลราชธานี, 11(1), (31).

วันชัย หวังสวาสดิ์. (2559).รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิจิตราภรณ์ โตแก้ว. (2558). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี.การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วิมล นาวารัตน์. (2561). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมทางด้านการจัดการศึกษา. [Online] Available : https://www.gotoknow.org/posts/417505. [2561, ตุลาคม 11]

สุธาสินี โพธิจันทร์. (2558). PDCA หัวใจของการปรับปรุงต่อเนื่อง. [Online] Available :https://www.ftpi.or.th/2015/2125.[2558, เมษายน 30].

โสภิดา ศรีนุ่น. (2558).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา.สารนิพนธ์รัฐประสานศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558).การบริหารแบบมีส่วนร่วมทีส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต3.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิชา กิจเชวงกุล. (2555).ทฤษฎี Edward Damming. [Online] Available : http://colacooper.blogspot.com/2012/10/edward-damming.hvtml. [2557 สิงหาคม 15].

Kyoko Taniguchi and Yukiko Hirakawa. (2015). Dynamics of community participation, student achievement and school management: the case of primary schools in a rural area of Malawi. [Online] Available : https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/03057925.2015.1038500. [2019 April 16].

Yogesh N. Mhaske. (2559). Democracy In Education. [Online] Available : https://www.slideshare.net/yogeshmhaske1/democracy-in-education-69395833.
[2019 April 16].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29