การพัฒนารูปแบบทักษะพลเมืองผลิตภาพ เพื่อการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษากัมพูชาในระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • LYVIRITH VANN คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เชษฐภูมิ วรรณไพศาล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จารุณี ทิพยมณฑล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทักษะพลเมืองผลิตภาพ, การแข่งขันเชิงสร้างสรรค์, การคิดเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการศึกษาเสริมสร้างทักษะพลเมืองผลิตภาพเพื่อการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษากัมพูชาในระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะพลเมืองผลิตภาพเพื่อการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษากัมพูชาในระดับอุดมศึกษา และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะพลเมืองผลิตภาพเพื่อการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษากัมพูชาในระดับอุดมศึกษา กลุ่มประชากรได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนในสากลวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh หรือ RUPP) และนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษปีที่ 3 จำนวน 431 คน ที่กำลังศึกษาที่สากลวิทยาลัยภูมินท์ พนมเปญ ในเมืองลวงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาปีการศึกษา 2562 (2019) และกลุ่มตัวอย่าง คือ คือ ผู้บริหารจำนวน 3 คน ผู้สอน 6 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มตัวอย่าง และ นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษปีที่ 3 จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 25 จากประชากรจำนวนทั้งหมด 431 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงสำรวจโดยใช้การวิจัยผสมผสาน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์โดยมีโครงสร้างกับผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอน และแบบสอบถามกับนักศึกษา แบบประเมินคุณภาพเครื่องมือเป็นภาษาไทยของผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชียวชาญ จำนวน 5 ท่าน และแบบประเมินความถูกต้องทางด้านภาษาของเครื่องมือเป็นภาษากัมพูชาในการแปลเครื่องมือจากภาษาไทยเป็นกัมพูชา และคำตอบจากภาษากัมพูชาเป็นไทยของผู้ทรงคุณวุฒิจากกัมพูชา 1 ท่าน และ ไทย 1 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ CorrelationAnalysis

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา มีปัญหาที่พบรวมกัน และปัญหาต่างกันตามตำแหน่งหน้าที่ และสรุปประเด็นข้อค้นพบของการวิจัยและการสร้างรูปแบบที่เหมาะสม โดยนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาเป็น CCPR +TAW (Creative Mind; Critical Mind; ProductiveMind; ResponsibleMind; Training; Academic; Workshop)

References

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี :สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

พนม พงษ์ไพบูลย์. (2562). การศึกษาคือปัจจัยที่ 5 ของชีวิต: https://www.gotoknow.org/posts/101128. (เข้าถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 16.00).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2560). คิดผลิตภาพและสอนได้อย่างไร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Willer, D. (1967). Scientific Sociology: Theory and Method. Prentice Hall Inc., Englewood Cliff, NJ.

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29