สมรรถนะของครูที่ส่งผลต่อความคิดเชิงวิจารณญาณของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สุเนตร ขวัญดำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ความคิดเชิงวิจารณญาณ, ครูผู้ช่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเชิงวิจารณญาณของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) ศึกษาสมรรถนะของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและ 3) ศึกษาสมรรถนะของครูที่ส่งผลต่อความคิดเชิงวิจารณญาณของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 80 โรงเรียน ในจังหวัดชัยภูมินครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และยโสธร ที่ใช้กรอบในการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยให้ความน่าจะเป็นของการเลือกเป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนนักเรียนในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามระดับสมรรถนะครู แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สอบถามระดับสมรรถนะความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ตอนที่ 2 สอบถามระดับสมรรถนะหลักของครู ตอนที่ 3 สอบถามระดับสมรรถนะประจำสายงานของครู และแบบทดสอบความคิดเชิงวิจารณญาณของครูผู้ช่วย การวิเคราะห์ข้อมูล คำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผันและวิเคราะห์ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรต้นที่ส่งผลต่อตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้ช่วยมีความคิดเชิงวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง ลักษณะของครูผู้ช่วยดังกล่าวนี้แต่ละโรงเรียนแตกต่างกันมาก 2) ระดับสมรรถนะของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับสูงถึงสูงที่สุด ลักษณะของครูผู้ช่วยดังกล่าวนี้แต่ละโรงเรียนแตกต่างกันน้อย 3) สมรรถนะของครูที่ส่งผลต่อระดับความคิดเชิงวิจารณญาณของครูผู้ช่วย ได้แก่ การพัฒนาตนเอง อธิบายความแปรปรวนของระดับความคิดเชิงวิจารณญาณของครูผู้ช่วย ได้ร้อยละ 9.30 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ gif.latex?\alpha = .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
_________________. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_________________. (2547). ปฏิรูปการศึกษายุคใหม่. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์. (2554). “ทักษะกระบวนการคิดกับอนุกรมวิธานวัตถุประสงค์ทางการศึกษา”. ในวารสาร : วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. กรกฎาคม-พฤศจิกายน 2554.

ดารมณ เตชะรัตนภาคิน. (2561). การศึกษาความคิดเชิงวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรชัย เจดามาน. (2560). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบของประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21 . มหาสารคาม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2555) ครูสังคมศึกษากับการพัฒนาทักษะแก่นักเรียน. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สุทัศน์ เอกา. (2560). ครูคือผู้สร้างแรงบันดาลใจ Smart Teacher for Smart Students. กรุงเทพฯ : บริษัท ก.พล (1996) จำกัด.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่21. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต1-2. (ออนไลน์). สืบค้นจาก.www.addkutec3.com%20/wp-content/uploads/2013/05/การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่-211.pdf. สืบค้น เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รายงานการติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาการศึกษา ปี 2555. สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2547. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.onec.go.th/onec_web/page. php?mod=Outstand &
file=view & itemId=1879 สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2559.

สมาคมพัฒนาวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย. (2559.) ทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนศตวรรษที่ 21. (ออนไลน์). สืบค้นจาก. http://tpdat.com/ สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (2561). รายงานการประชุมประจำเดือนมีนาคม 2561. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32.

Ennis, R.H. (1985). “Alogical Basic for Measuring Critical Thinking Skills.” Educational Leadership. 43 (2) : 44 - 46.

McClelland, D.C. (1973). “Test for Competence Rather Than for Intelligence.” AmericanPsychologist. 17(7). 57-83.

Sudman, S. (1976). Applied Sampling. New York : Academic Pressing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29