การพัฒนารูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธนา ธุศรีวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชวลิต ชูกำแพง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการชี้แนะ, ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา โดยวิธีการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนในสหวิทยาเขต 4 สังกัดสำนักงานแขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวน 6 คน และนักเรียน จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกต แบบประเมิน แบบตรวจสอบรายการ แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

  1. รูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการชี้แนะ 4) ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ผู้บริหาร ทักษะผู้ชี้แนะ ครูผู้รับการชี้แนะและสภาพแวดล้อมด้าน ICT
  2. ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการชี้แนะ พบว่า หลังการใช้รูปแบบการชี้แนะครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน และนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบการชี้แนะ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังการใช้รูปแบบการชี้แนะ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน

References

จิตณรงค์ เอี่ยมสำอาง. (2555). การพัฒนารูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการโค้ชและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูพาณิชยกรรม. วิทยานิพนธ์ ปร.ด.นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2),1.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2550). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรูปแบบและทฤษฎี การเรียนรู้อนาคต. (อินเทอร์เน็ต)ม.ป.ป.

ธัญพร ชื่นกลิ่น. (2553). การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจาณญาณของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชนกกระทรวงสาธารณสุข.วิทยานิพนธ์ ปร.ด. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พนิดา จารย์อุปการะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนในสังกัดมณฑลราชบุรี. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มานิตย์ อาษานอกและชวลิต ชูกำแพง. (2560). รูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพตามแนวคิดวิธีการสอนงานและให้คำปรึกษาโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ที่ส่งเสริมสมรรถนะการสอนของครูในโรงเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 123.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). การนิเทศการสอนและการโค้ชการพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่12. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นครปฐม.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.

วีระชาติ กิเลนทอง. (2560). สภาวะการศึกษาไทยปี2558/2559 ความจำเป็นของการแข่งขันและการกระจายอำนาจในระบบการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซนจูรี่ จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : การศึกษาโรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

Atteberry, A., & Bryk, A. S. (2011). Analyzing teacher participation in literacy coaching activities.Elementary School Journal, 112(2), 356.

Aviva Goelman Rice. (2016). Teacher Empowerment Through Instructional Coaching: A QualitativeStudy on the Theory and Application of Partnership Principles. (Doctoral dissertation).Georgia Southern University.

Blanchard, P.N. and J.W. (2004). Thacker. Effective Training : Systems, Strategies and Practices.Upper Saddle River : Pearson Prentice Hall.

British Council. (2011). Teaching skills inspiring teaching excellence,

Cooper, M. James. (2011). Classroom Teaching Skills. Belmont : Wadsworth Cengage Learning.

Chris Kyriacou. (2007). Essential Teaching Skills. United Kingdom : Nelson.

Dierking, R. C., & Fox, R. F. (2013). “Changing the way I teach”: Building teacher knowledge, confidence, and autonomy. Journal of Teacher Education, 64(2), 129-144.

DuFour, R., DuFour, R., Eaker, R. & Karhanek, G. (2004). Whatever It Takes: How professional learningcommunities respond when kids don’t learn. IN: National Educational Service.

Fullan, M. (2011). Learning is the Work. Unpublished paper. Retrieved

Gornall, S. and Burn, M. (2013). Coaching and learning in schools : A practical guide. Thousand Oaks,Calif : SAGE Publication.

Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommers, W. A. (2010). Guiding professional learning communities :

Inspiration, challenge, surprise, and meaning. Corwin Press.

Jackson, P. & McKergow. M. (2007). The Solutions Focus Making Coaching and Change SIMPLE.Boston : published by Nicholas Brealey International.

Moon, J. (1999). Reflection in Learning & Professional Development, London : Kogan page,

Knight, J. (2007). Instructional coaching : A partnership approach to improving instruction. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Ray, T. (2013). Peer coaching : The benefits for teacher classroom effectiveness and learning outcomes.

Robbins, P. (1991). How to plan and implement a peer coaching program. Alexandria, VA: Associationfor Supervision and Curriculum.

Sinlarat, P., Dechakup, P., Uthairat, S., Bandityan, K. (2001). (Eds.) : Thoughts and Practices forSecondary School Teachers for Education Reform. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University.

Yalcin Arslan, F.,& Gülden İLİN. (2013). Effects of peer coaching for the classroom management skills of teachers, Articles /Makaleler. 9 (1) : 43-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29