การพัฒนารูปแบบการบริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลศรีณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐวรรณ รุกขชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สรรใจ แสงวิเชียร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศุภะลักษณ์ ฟักคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คุณภาพงานบริการ, แพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การแพทย์แผนไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดูแลสุขภาพ การผสมผสานการแพทย์แผนไทยในระบบการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นแนวทางในการส่งเสริมประชาชนให้มีสุขภาพดีเพื่อพัฒนาทางเลือกใหม่ๆ ในการดูแลสุขภาพของประชาชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการบริการแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์มาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลศรีณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มศึกษาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนางานเข้าร่วมกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) ได้แก่ ขั้นวางแผนพัฒนาให้มีองค์ความรู้ กลยุทธ์คือการศึกษาดูงานและการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการ นำแผนที่ได้ไปปฏิบัติ ติดตามนิเทศ สังเกตการพัฒนาและสะท้อนผลการปฏิบัติ เครื่องมือประกอบด้วย แบบสังเกตการมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบนิเทศ แบบสอบถามการมีส่วนร่วม แบบประเมินความรู้และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Samples t-test.ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการบริการ การแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์มาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลศรีณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ ส่งผลให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนางานบริการ มีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยที่ชัดเจนขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมและความรู้ พบว่าหลังการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2554). การสาธารณสุขไทย 2551–2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2552). การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ.กรุงเทพมหานคร: ม. ป.ท.

กมล ภูวนกลกรรม. (2549). ผลของการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามมาตรฐาน ศูนย์ สุขภาพชุมชนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. หน้า 77-89. วิทยานิพนธ์ สม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กองควบคุมโรคระบาด กระทรวงสาธารณสุข. (2553). รายงานการเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง. วารสารรายงาน การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29