รูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูง, การบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูง, คุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด การวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตรวจสอบยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบ โดยเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ ประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการแนวคิดและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 การบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูง ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำ 2) การกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ 3) การจัดการความรู้ 4) การจัดการกระบวนการ 5) การพัฒนาบุคลากร 6) การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7) การมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงาน ส่วนที่ 3 แนวทางการนำไปใช้ ส่วนที่ 4 ประเมินผล และ ส่วนที่ 5 เงื่อนไข การประเมินรูปแบบด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการใช้รูปแบบ พบว่า ก่อนการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก หลังการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และความพึงพอใจการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก
References
เบญจมาศ เมืองเกษม. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ธนาคารความดีเพื่อเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชนไทย. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
พสุ เดชะรินทร์. (2549). รายงานผลการศึกษาการพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2544). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตาพลับลิเคชั่นจํากัด.
ศราวุธ สุตะวงค์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13 (3), น. 21-41.
เอกชัย บุตรแสนคม. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
Brown, W.B. & Moberg,D.J. (1980). Organization Theory and Management : A Macro Approach. New York : John Wiley and Sons.
Joyce, B. & Weil, M. (1996). Model of Teaching. 5th ed. Boston : Allyn and Baeon.
Keeves, Peter J. (1997). Educational Research, Methodology and Measurement. UK : Cambridge University Press.