รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางการรับวัฒนธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช รัตนพันธุ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศาสตรา เหล่าอรรคะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การรับวัฒนธรรม, ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม, วิถีพุทธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของการสร้างภูมิคุ้มกันทางการรับวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการสร้างภูมิคุ้มกันทางการรับวัฒนธรรม 3) เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางการรับวัฒนธรรมโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ที่ดำเนินการด้วยวิถีพุทธ จำนวน 4 โรงเรียน ประกอบด้วย 1) โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม 2) โรงเรียนโพธิสารพิทยากร 3) โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง 4) โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ และนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

          ผลการศึกษาความเป็นมาของการสร้างภูมิคุ้มกันทางการรับวัฒนธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธพบว่าก่อนที่โรงเรียนจะเข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ นักเรียนมีปัญหาเรื่องการรับวัฒนธรรมจากต่างชาติตามสมัยนิยม การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการสร้างภูมิคุ้มกันทางการรับวัฒนธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ โดยยึดตามมาตรฐานแนวทางการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรมด้านการรับวัฒนธรรมภายนอกโรงเรียนมีการสำรวจสภาพพื้นที่ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนรอบบริเวณโรงเรียน และคณะครูคัดเลือกนักเรียนที่มีคุณสมบัติด้านกิจกรรมอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมไทยเพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนนักเรียนจากการศึกษาสภาพปัญหาพบว่ามีการรับวัฒนธรรมต่างชาติตามสมัยนิยม เกิดการเลียนแบบดารานักแสดง หรือการเลียนแบบเพื่อนในทางที่ผิด รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางการรับวัฒนธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ ใช้แนวทางการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่กระทรวงวัฒนธรรมกำหนดไว้ ในด้านการรับวัฒนธรรมภายนอกร่วมกับองค์ประกอบของโรงเรียนวิถีพุทธ 5 ด้านได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านการเรียนการสอน ด้านพฤติกรรม และด้านการส่งเสริมวิถีพุทธ ผลของการศึกษาค้นคว้าได้แนวทางในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมจำนวน 59 ข้อ เพื่อการเป็นแนวทางจัดการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันมีคุณธรรมและคุณภาพตามที่สังคมไทยต้องการเพื่อเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมโลกอนาคต

References

ChayarnLampao. (2013). The Study of Attitude, Perception, and Behavior on Korean Trends. Master of Science Thesis. Bangkok : National Institute of Development Administration.

Ministry of Culture. (2007). Master Plan of National Culture 2007-2016. Bangkok : The Office of Policy and Strategic, Office of the Permanent Secretary.

NongLak Tepsawat. (1998). Analysis of Important Problem in Thai Social. BangKok :Thammasat University Publishing House.

Orachart Suebsit and others. (n.d.). “Multiculture of Human” World Commission of Cultural and Development Report. Bangkok : The Teacher Council Ladprao Publishing House.

Phichaiyut Sayamphanthakit. (2010). The Story of Spy and The Problems in Thai Education System.Bangkok :Sayammit Publishing House.

PhraMaha SanongPajjopakaree. (2010). Human and Social. Bangkok : Active Print Co.,Ltd.

Suwannee Suwannapat. (2012). A Study of Learning Environment in Social Studies Subject and Demand of Media to Enhance Knowledge and Experience in Thai History in secondary school students. Master of Science in Technical Education Thesis. Bangkok : King Mongkut’s University of Technology Thonburi.

The Fine Arts Department. (n.d.). Handbook of Social Immunity Creation in Cultural. Bangkok : Population Co.,Ltd.

The Office of Strategic and Cultural Surveillance Bureau Group. (2010). “The Guideline of Cultural Surveillance”. The Journal of Thai Culture. vol. 49(4). 31-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30