โปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • ภวัต มิสดีย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รองศาสตราจารย์ ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โกวัฒน์ เทศบุตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารระดับต้น, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ของผู้บริหารระดับต้นในมหาวิทยาลัยราชภัฎ 2) เพื่อเสนอโปรแกรมเสริมสร้างการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสังเคราะห์ขอบข่ายองค์ประกอบและตัวชี้วัดของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้นในมหาวิทยาลั ราชภัฏ ขั้นตอนที่ 2 เสนอโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม และแบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์
 ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 5 ด้าน 18 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม มี 3 ตัวชี้วัด 2) ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี มี 4 ตัวชี้วัด 3) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มี 4 ตัวชี้วัด 4) ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา มี 3 ตัวชี้วัด และ 5) ด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มี 4 ตัวชี้วัด โดยผลการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบทุกด้านและตัวชี้วัดทุกตัวอยู่ในระดับมากที่สุด 2. โปรแกรมเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ประกอบด้วยความเป็นมา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวคิด และหลักการของโปรแกรม ส่วนที่ 2 เนื้อหาโปรแกรม ประกอบด้วย 4 โมดูล และส่วนที่ 3 การประเมินผลการใช้โปรแกรม ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนกอร สมปราชญ์. ภาวะผู้นำทางการศึกษา : มุมมองด้านวัฒนธรรมและการเรียนรู้. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549.

จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2562.

ณฐวัฒน์ พระงาม. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(2), 13-23, 2561.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. นโยบายและการวางแผนกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษายุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม : หจก.อภิชาติการพิมพ์, 2560.

พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต). ผู้นำ. พิมพค์รั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : มติชน, 2546.

พระมหาธนาวุฒิ จตฺตมโล. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2562.

เตชทัต ใจท้วม. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง ตามการรับรู้ของพนักงานกับการเสริมสร้างพลังอำนาจเชิงจิตวิทยาในงาน และความผูกพันในงานของพนักงาน : กรณีศึกษาพนักงานสายการบินแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายสนับสนุสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต กศ.ด. มหาสารคาม, 2554.

สุวิทย์ ยอดสละ. การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556.

Astin & Scherrei. How to do Things with Words. Oxford Bowlby, J. Attachment and loss: Volume 3. Loss, New York, 1980.

Beebe, Barbara. “A content analysis of LIBBES : Libraries & Information Research Electronic Journal” Mississippi Libraires. 67, 4 (Winter) : 101-105,. (http://www.lib.usm.edu/~mla/home.html) 12/3/53 ,2004.

Bass, B. M., and Avolio, B. I. Transformational leadership development. California : Consulting Psychologists Press, 1990.

Avolio, B.J. Full Leadership Development. California : SAGE Publication, 1999.

Caffarella, R.S. Planning Programme for Adult Learners. San Francisco: Jossey-bass. Center for Management & Organization Effectiveness : CMOE. 201: Online), 2002.

Dunham-Taylor. Nurse executive Transformational Leadership found in participation organization. Journal of nursing administration, 30 (5), 241-250, 2000.

Fullan, M. Leading in a culture of change. San Francisco: Jossey-Bass. http://www.michaelfullan.ca/resource_assets/ms_annotations/fullan1.pdf [Accessed 14 February 2011], 2006.

House, 62(November), 93. Theory into Practice, 23 (Winter), 44-50. Sorenson, L.R. & Others, 1996.

Hoy, & Miskel. Educational Administration : Theory Research, and Practice. New York : McGraw-Hill, 2008.

Judge, T. A. and R. F. Piccolo. “Transformational and transactional leadership : a meta-analytic test of their relative validity,” Journal of Applied Psychology. 89(5) : 755-768, 2004.

Kark, R., Shamir, B., & Chen, G. The two faces of transformational leadership: Empowerment and dependency. Journal of Applied Psychology, 88(2), 246-255, 2003.

Leithwood, K., and Duke, D. L. A century’s quest to understand school leadershipIn K.S. , 1999.

Leithwood, K.A. and D. Jantzi. “Transformational Leadership : How Principals can Help Reform School Cultures,” School Effectivenesss and School Improverment. 1(4) : 249-280, 1990.

Mondy, Noe & Premeaux. The system was also comprised of a knowledge delivery architecture that facilitated conversions , 2005.

Murphy,S.E. and Riggio, R.E. 'Introduction to the Future of Leadership Development. .https://books.google.co.th/books?isbn=113417622, 2003.

Nadler, L. Designing Training Programs : The Critical Events Model. Reading. Massachusetts : Addison Wesley, 1982.

Oyler, K.L. Higher Education Goes Global: A Comparative Study of Internationalization at an American and Australian University. Ph.D. University of South Carolina, Carolina, 2009.

Peterson, S.J. CEO Positive Psychological Traits, Transformational Leadership, and Firm Performance in High-Technology Start-Up and Established Firms. Journal of Management, 35(2), 348-368, 2009.

Rosser, Johnsrud and Heck. San Francisco: Westview Press. Kotler, Philip. Marketing Management. 11th ed. 2; 2001: 89), 2003.

Swinney, Addie Cobb. Teacher Leaders’ and Administrators' Perceptions About a Leadership Capacity Building Program. Ph.D. Dissertation, Auburn University, 2010.

Taba, Hilda. Curriculum Development : Theory and Practice. New York: Hartcourt Brance and World. 109, 1962.

Williams, C. Principles of Management. (7th ed). International Edition: South – Western, 2013.

Wolfram, H.J. and G. Mohr. Transformational Leadership, Team Goal Fulfillment, and Follower Work Satisfaction the Moderating Effects of Deep-level Similarity in Leadership Dyads. Journal of Leadership and Organizational Studies, 15(3), 260-274, 2009.

Yukl, G.A. Leadership in Organizations International. 5th ed. New Jersey : Prentice Hall, 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30