การพัฒนาศักยภาพการทำงานของบัณฑิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา สู่การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ศักยภาพ, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการทำงานของบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและประเมินการศึกษา สู่การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการทำงานของบัณฑิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา สู่การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่บัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและประเมินการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปี 2555 ถึง ปี 2558 จำนวน 30 คน และ ผู้บริหาร/หัวหน้างานของบัณฑิตที่ปฏิบัติงานอยู่ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณา
ผลการวิจัย พบว่า
1.ศักยภาพการทำงานของบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและประเมินการศึกษา สู่การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีประเด็นที่ค้นพบดังต่อไปนี้
1.1สภาพปัญหาการปฏิบัติงาน ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาเรียงตามลำดับได้แก่ ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ ความรู้เรื่องการวางแผน การวิเคราะห์งานและการตัดสินใจเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติงาน และงานที่ได้รับมอบหมายไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ
1.2 ประสบการณ์การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของบัณฑิตมีทั้งผ่านหน่าวยงานทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ การประชุมอบรมสัมมนา การศึกษาดูงาน การปฐมนิเทศ และการศึกษาหลักสูตรระยะสั้น และบัณฑิตพัฒนาตนเอง ได้แก่ การศึกษาจากสื่อออนไลน์ เช่น ยูทูป เฟสบุ๊ก การศึกษาจากเอกสารตำรา ระเบียบข้อบังคับต่างๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน และการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
1.3 ปัญหาในการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตพบว่า มีปัญหาทางด้านการสนับสนุนงบประมาณมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การจัดสรรเวลาในการเข้าร่วมพัฒนา และการจัดหาคู่มือการปฏิบัติงาน
2.แนวทางการพัฒนาศักยภาพการทำงานของบัณฑิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา สู่การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา พบว่า ด้านการฝึกอบรมการพัฒนาควรจัดอบรมหลักสูตรที่ทันสมัย มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน ฝึกอบรมกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์เฉพาะด้าน และฝึกอบรมโดยเน้นการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สำหรับด้านการพัฒนา ควรมีการปฐมนิเทศ เพื่อให้รู้และเข้าใจระเบียบการปฏิบัติงาน และจัดสัมมนาทางวิชาการในเนื้อหาที่ทันสมัย น่าสนใจและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และด้านการศึกษา กลุ่มตัวอย่างสนใจที่จะศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศหากได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน โดยต้องการศึกษาต่อนอกเวลาราชการมากที่สุด
References
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ตันติกร ขุนาพรม. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธัญวิทย์ ศรีจันทร์. (2558). รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญส่ง ลีละชาต. (2559). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (การค้นคว้าอิสระ). ปทุมธานี : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุษกร วัฒนบุตร. (2559, กรกฎาคม - ตุลาคม). การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารธรรมทรรศน์. ปีที่ 16 (2) 163
ปฏิวัติ ศรีทิพย์ศักดิ์. (2559). การพัฒนาแนวคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องสารละลาย และทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรศึกษา) ภาควิชาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เมธี ปิลันธนานนท์. (2529). การบริหารงานบุคคลในวงการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สิวารี ศรีวิโรจน์. (2558). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรประจำเรือขนส่งน้ำมัน : กรณีศึกษา บริษัท A. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกิจการทางทะเล (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2557). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุนีย์ ชัยสุขสังข์. (2557). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาคนโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.