การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร

ผู้แต่ง

  • นิกูล ทองหน้าศาล โรงเรียนเนินปอรังนกชนูทิศ
  • รศ.ดร.ถาวร สารวิทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ดร.ชวน ภารังกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยง, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร โดยแบ่งวิธีการดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยงของสถานศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูผู้สอน ด้วยแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา 2) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยงของสถานศึกษา โดยศึกษาสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จ องค์ประกอบรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิการประชุมเชิงปฏิบัติการและตรวจสอบรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 3)ประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4) จัดทำคู่มือ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแนวทางปฏิบัติรูปแบบการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยงของสถานศึกษาโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการและประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพ ปัญหา และความต้องการการนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร ในด้านสภาพโดยรวมมีสภาพการปฏิบัติระดับน้อย ด้านปัญหาโดยภาพรวมมีปัญหาระดับมาก และความต้องการโดยภาพรวมมีความต้องการระดับมาก2. การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรพบว่า องค์ประกอบที่ต้องการพัฒนามี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.การวางแผนการนิเทศ 2. การให้ความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน 3. การลงมือปฏิบัติงาน4. การสร้างเสริมกำลังใจ 5. การประเมินผลการนิเทศ และ6. การพัฒนาให้ต่อเนื่อง3. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร ด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ พบว่าอยู่ในระดับมาก4. คู่มือและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของรูปแบบการนิเทศภายในแบบการสอนงานและระบบพี่เลี้ยงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร พบว่า คู่มือประกอบด้วย 9ตอน ดังนี้ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ2. วิสัยทัศน์รูปแบบ3. หลักการรูปแบบ4. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ5. เนื้อหาของรูปแบบ6. วิธีการดำเนินงานของรูปแบบ7. การประเมินผลของรูปแบบ8. เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ9. แนวทางในการนำไปใช้ และผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของคู่มือทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะประกอบด้วย 2ประการ ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และ 2) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ และผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของข้อเสนอแนะทุกด้านอยู่ในระดับมาก

References

กฤษฎิ์ พลไทย. (2553). การเขียนคู่มือ. [Online].Available: http://www.chumphon2.mju.ac.th/km/?p=355[2560, ตุลาคม 26].

กำแพงเพชร,มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2556). รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูโดยใช้ กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง ปี พ.ศ. 2556.

กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน. (2555). การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จินต์ณธิป แก้วชิณและคณะครูโรงเรียนบ้านคำข่า. (2554). การนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้คละชั้นในโรงเรียนบ้านคำข่า. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2.

ธนาวิชญ์ จินดาประดิษฐ์ และจารุวรรณ ยอดระฆัง. (2552). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ธนีนาฎ ณ สุนทร. (2545). การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การบริหารคุณภาพสำหรับกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัพวัลย์ เติมเกียรติสุข. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานการดำเนินการงบประมาณของโรงเรียนสามมุกคริสเตียนวิทยา. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญศรี ใสลำเพาะ. (2551). สภาพการปฏิบัติตามกระบวนการนิเทศภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประเทือง จุลวาทิน. (2557). ระบบข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงงาน. [Online]. Available: ttp://www.uttvc.ac.th/uttvc/wbi2553/suggestion.html. [2559, สิงหาคม 16].

ปรียา พุทธารักษ์ (2550). การศึกษากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี, วิทยาลัย. (2555). การบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อองค์กร. ราชบุรี: กลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี.

พันธุ์ศักดิ์ เนื่อง ณ สุวรรณ. (2549). เปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รังสรรค์ คุ้มตระกูล. (2551). ความต้องการนิเทศภายในของครูผู้สอน อําเภอแก่งหางแมว สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ:คำสมัย.

วรรณพร สุขอนันต์. (2550). รูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ศุภชัย บุญสิทธิ์. (2551). สภาพ ปญหาและความตองการรูปแบบและกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลยราชภัฏสกลนคร.

สมเกียรติ ทานอก และคณะ. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยงCoachingand Mentoringhttp: (สืบค้นวันที่ 27 มิถุนายน 2559)เข้าถึงได้จากhttp//www.edu.nrru.ac.th/สุภาภรณ์กิตติ

รัชดานนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุเนตรา แสงรัตนกูล. (2558, มกราคม - มิถุนายน).คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาผู้ตรวจสอบภายใน รายบุคคล. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 9(1).

อัญชลี โกอนันต์ตระกูล. (2556). การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานนักประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ: กรณีศึกษานักประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01