รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ในสถานประกอบการ, การพัฒนาตนเอง, การส่งเสริมการเรียนรู้บทคัดย่อ
ปัจจุบันสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายๆด้านการที่สถานประกอบการจะมีประสิทธิภาพในการแข่งขันที่สูงกว่าคู่แข่งและสามารถปรับตัวได้รวดเร็วนั้น ก็มาจากทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจ ดังนั้น การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาในสถานประกอบการนั้น ถือเป็นโจทย์สำคัญโดยการวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อสังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองสำหรับพนักงานองค์กรเอกชนวิธีดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบ วิธีการ ปัจจัย เงื่อนไขความเกี่ยวข้องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อการพัฒนาตนเองซึ่งเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่วิจัย ต้องเป็นพื้นที่ที่มีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองอย่างเป็นรูปธรรม มีความหลากหลาย และ ครอบคลุมทุกกิจกรรมการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยผู้เข้าร่วมวิจัยจะต้องเป็นพนักงานใหม่ หรือ พนักงานที่ได้รับงานใหม่ หรือต้องเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อใช้ในการทำงาน ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการส่วนการผลิต และ ต้องเป็นพนักงานประจำของสถานประกอบการและยังคงเป็นพนักงานอยู่ในช่วงเวลาที่ทำการวิจัย ข้อค้นพบจากการวิจัย1) ความเชื่อพื้นฐานของการเรียนรู้ในสถานประกอบการ คือต้องเป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการทำงานและส่งเสริมการเติบโตในสายอาชีพของพนักงาน 2) แนวคิดหลักในการเรียนรู้ในสถานประกอบการ คือ เป้าหมายและประเด็นในการเรียนรู้ ต้องเริ่มและมาจากตัวพนักงานเอง 3) กระบวนการเรียนรู้ในสถานประกอบการ เริ่มจาก วิเคราะห์ตนเอง-กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง – สร้างแผนการเรียนรู้ของตนเอง – นำพาตนเองให้เกิดการเรียนรู้ตามแผน – วัดผลการเรียนรู้ของตนเอง 4) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ต้องเป็นสภาพแวดล้อมที่พนักงานสามารถเข้าถึงทรัพยากรในการเรียนรู้ 5) เงื่อนไขที่ต้องมีคือการสนับสนุนและให้ความสำคัญของการเรียนรู้จากผู้บังคับบัญชา 6) ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้และช่วยเหลือพนักงานเมื่อพบอุปสรรคในการเรียนรู้จากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ ผู้บังคับบัญชา และ เพื่อนร่วมงาน
References
ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์ .(2559) . จิตวิทยากับการพัฒนาตน . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริญญา อุปลา. (2545). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านพุทธรักษา. จังหวัดสกลนคร. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ประถมศึกษา).เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ. (2544). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน.กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล.(2546). การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพการพยาบาล.(พิมพ์ครั้งที่ 2).ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.
Ashton D. & Sung J. (2002) .Supporting Workplace Learning for High Performance Working. Geneva:InternationalLabour Office.
Dick, B. (2000).A beginner's guide to action research. Retrieved from www.scu.edu.au/schools/gcm/ar/guide.html
Drucker, P.F. (1974). Management. New York : Harper and Row.
Estrada,Vicente F.(1995). Are you factory workers know-it-alls? . (September) Personnel Journal.
Holloway, I. W,. (2010). Qualitative research in nursing and health care. 3 rd ed. India: Laserwords Privates.
Jackie Cliffore& Sara Thorpe (2007). Workplace learning and development : delivering competitive advantage for your organization. United States:Kogan Page Limited.
Kemmis, S and ,McTagart. (1990). The Action Research Planner. Geelong:DeakinUniversity Press,
Knowles, M.S., et al. (1990). The Adult Learner A Neglected Species. 4th ed. Houston, TX: Gulf Publishing Company.
McNiff, J. & Whitehead, J. (2006). All you need to know about Action Research. SAGE Publication: London.
Megginson , D.&Pedler M. (1992).Self-Development : A Facilitator’s Guide. London:McGraw – Hill.
Roni(t) LiyaLami . (2000) Personal Development in the Workplace:The Concept and its Usage in Selection and Training. THE UNIVERSITY OF HULL , Doctor of
PhilosophyDepartment of Psychology.
Steve Penfold . (2016) .Profile of the modern learner- helpful facts and stats.Retrieved from https://blog.elucidat.com/modern-learner-profile-infographic/
Streubert, H.J & Carpenter, D.R. (2003). Qualitative Research in Nursing Advancing the Humanistic Imperative. (3 rded.). Philadelphia: Lippincott.