ประสิทธิผลของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ศศิมาภรณ์ สุวรรณดี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รศ.ดร.จุมพล หนิมพานิช มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ดร.เฉลิมพร เย็นเยือก มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว, ปัจจัยส่วนบุคคล, ปัจจัยด้านพฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาประสิทธิผลของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสุพรรณบุรี 2)ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธ์มังกร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-Test และ one-way ANOVA

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ มีความคิดเห็นด้านประสิทธิผลของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เมืองสุพรรณบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนสถานภาพ รายได้เฉลี่ย ภูมิลำเนา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 2)ปัจจัยด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเดินทางมาท่องเที่ยว โดยการเดินทางครั้งนี้มาด้วยรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งเดินทางมากับกลุ่มเพื่อนจำนวน4-5คน ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการท่องเที่ยวไม่เกิน 1,000 บาท 3)ประสิทธิผลของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสุพรรณบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีคือ สภาพแวดล้อมของภายในแหล่งท่องเที่ยว มีความสวยงาม สะดวก สบาย เหมาะสมตรงกับความต้องการและความคาดหวัง ความพึงพอใจจัดอยู่ในเกณฑ์มาก

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560– 2564).กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ:กระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 –2564).กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จุฑามาศ อ่วมประดิษฐ์. (2555). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชิดจันทร์ หังสสูต. (2559). หลักและการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ: บิสซิเนสคอมพิวเตอร์ เซอร์วิส.

ดวงกมล บุญทวีทรัพย์. (2555). ปัจจัยที่มีมีผลต่อความพึงพอใจของนักทองเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ พุเตยจังหวดสุพรรณบุรี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิทยา บวรวัฒนา. (2555). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ.กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2550). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม: ข้อมูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและวางแผน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวิณี เอี่ยมตระกล. (2558). พฤติกรรมและทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ส่งผลต่อความปลอดภัยทางถนนสําหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทย.วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 88-105.
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีพ.ศ. 2561-2565.กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

อินทร์ชญาณ์ เอกธนวัตน์. (2559). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อคุณลักษณะจุดหมายปลายทางของแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา: เมืองพัทยา.งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01