แรงจูงใจด้านสวัสดิการแรงงาน ปัจจัยด้านลักษณะงานในสถานประกอบการที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • กฤตพงศ์ สุขวัฒนานุกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, สวัสดิการแรงงาน, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

การศึกษา แรงจูงใจด้านสวัสดิการแรงงาน ปัจจัยด้านลักษณะงานในสถานประกอบการที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจด้านสวัสดิการแรงงาน 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจด้านลักษณะงานในสถานประกอบการ 3) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 4) เพื่อศึกษาแรงจูงใจด้านสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบการที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานและ 5) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะงานในสถานประกอบการ ที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสมการถดถอยพหุคุณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจด้านสวัสดิการลำดับแรกคือ สวัสดิการด้านเศรษฐกิจ จัดอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด 2) แรงจูงใจด้านลักษณะงาน ลำดับแรกคือ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าตนมีความเข้าใจต่องานที่ทำเป็นอย่างดี 3) ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ลำดับแรกคือ ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทพยายามปฏิบัติงานเพื่อองค์กร จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง4) แรงจูงใจด้านสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบการมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยองทุกด้าน เมื่อพิจารณาน้ำหนักของความแปรปรวนร่วมกันเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจเกี่ยวกับสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร ด้านความเชื่อมั่นยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร มากที่สุดโดยมีค่า R Square เท่ากับ 0.23 หรือร้อยละ 23 และ 5) แรงจูงใจด้านลักษณะงานในสถานประกอบการมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยองทุกด้าน เมื่อพิจารณาน้ำหนักของความแปรปรวนร่วมกันเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจเกี่ยวกับลักษณะงานในสถานประกอบการเกี่ยวกับความมีอิสระในการทำงาน มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร ด้านความเชื่อมั่นยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร มากที่สุดโดยมีค่า R Square เท่ากับ 0.30 หรือร้อยละ 30

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2551). พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ:กระทรวงแรงงาน.

ธัญทิพย์ ภิญโญชัยอนันต์. (2559). แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรในองค์กรและระดับความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา บริษัท สกลนคร โอเอ แอนด์ คอมพิวเตอร์ จำกัด. สารนิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.กรุงเทพฯ: บริษัท วี. อินเตอร์พริ้น.

นิตยา เพ็ญศิริ และสุรชาติ ณ หนองคาย. (2555). พฤติกรรมองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปกภณ จันทศาสตร์. (2557). ปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงานและแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานเอกชนระดับปฏิบัติการ ในเขตลาดพร้าว-จตุจักร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2554). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พรรณราย ทรัพย์ประภา. (2556). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

มนูญ ตนะวัฒนา. (2558). การพัฒนาบุคคลในโลกธุรกิจ-อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2557). “การจูงใจและการเสริมแรง” พฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

สุดาศิริ เฮงพูลธนา. (2556). กฎหมายแรงงานและอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2558). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: รุ่งวัฒนา.

แสงเดือน รักษาใจ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรกรณีศึกษาบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม, ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์. (2558). แนวโน้มตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ. วารสารเศรษฐศาสตร์ศรีนครินทรวิโรธ, 5 (5), 113-120.

อารีรัตน์ เข็มเพ็ชร. (2555). ความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่ได้รับในสถานประกอบการ.วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อำนาจ ธีระวนิช. (2555). การจัดการยุคใหม่ = Modern management. นนทบุรี: มาเธอร์ บอส แพคเก็จจิ้ง.

Black, S. (1988). Work role transitions : a study of American expatriate managers in Japan. Journal of International Business Studies, 19(2), 277-294.

Buchanan, H. B. (1974). building organization commitment the socialization of managers inwork organization. Administrative Science Quarterly, 19,533 - 546.

Davis, K., & Newstrom, J.W. (1989). Human Behavior At Work: Organizational Behavior. Singapore: McGraw Hill.

Flippo, Edwin B. (1971). Principles of Personnel Management. New York: Mc Graw-Hill.

Gilmer, V. B. (1967). Industrial and organization psychology. New York: McGraw-Hill.

Hackman, J. R. (1976). Motivation through the design of work: Test of a theory. Organizational Behavior and Human Performance, 16(2), 250-279.

Hackman, J. R. and G. R. Oldham. (1975). Development of the job diagnostic survey. Journal of Applied Psychology Monograph, 60 (2), 159-170.

Hackman, J. R. and Lawler, E.E. (1971). Employee reaction to job characteristics. Journal of Applied Psychology Monograph, 55 (191), 161-182.

Mowday, R.T., Porter, L.W. & Steer, R.M. (1982). Dmployee - Organizational Likage:The Psychology of Commitment Absenteeism and Turnover. New York: Academic Press.

Nauman, E. (1993). Organizational predictors of expatriate job satisfaction. Journal of International Business Studies, 24(1), 61-80.

Porter , L.W. (1974). Organizational Commitment ,Job Satisfaction ,andTurnover Among Psychiatric Technicians, Journal of Applied Psychology, 59(5), 603-609.

Schaufeli, W., & Salanova, M. (2007). Work engagement: An emerging psychological concept and its implications for organizations. Research in social issues in management. Greenwich, CT: Information Age Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01