ความหมายและความสำคัญของชูรอในอิสลาม

ผู้แต่ง

  • ไพศาล เต็งหิรัญ

คำสำคัญ:

ชูรอ, หลักนิติศาสตร์อิสลาม, กรรมการอิสลามประจำมัสยิด

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง“ชูรอในอิสลาม: กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการชูรอเพื่อการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในกรุงเทพมหานคร” ในบทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหมายของชูรอ ทั้งในด้านทั่วไป จากอัลกุรอาน อัลหะดีษ และจากผลการวินิจฉัยของนักนิติศาสตร์อิสลาม และศึกษาความสำคัญของชูรอ ที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอานและอัลหะดีษ ดังนั้นในบทความนี้ศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลเชิงเอกสารเป็นหลัก โดยเฉพาะจากคัมภีร์อัลกุรอาน อัลหะดีษ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับหลักนิติศาสตร์ในอิสลาม จากการศึกษา พบว่าคำว่าชูรอ ปรากฏในความหมายทั่วไปซึ่งมีความหมายกว้างขวางมาก แต่ความหมายโดยสรุปคือ การปรึกษาหารือ ทั้งในรูปคำต่างๆ คำอื่นที่เกี่ยวข้อง และประโยคที่ชี้ให้เห็นความหมายของ “ชูรอ”การใช้คำและประโยคในอัลกุรอานเหล่านี้ ปรากฏในอายะห์ (โองการ) ที่มีบริบทการประทาน (อัสบาบุลนุซูล)[1] ต่างๆ ซึ่งนักวิชาการได้อธิบายความไว้ เพื่อชี้ให้เห็นความหมาย และเจตนารมณ์ของชูรอ สำหรับความสำคัญ ชูรอ เป็นสิ่งที่ถูกใช้ให้ปฏิบัติในกิจการทั้งหมด รวมทั้งในทุกกิจกรรมในการดำเนินชีวิต อาจกล่าวได้ว่า “ชูรอ” เป็นแนวคิดสำคัญที่คัมภีร์อัลกุรอานและสุนนะฮ์ของท่านเราะสูลได้กล่าวไว้ซึ่งจะนำไปสู่วิธีการและแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

References

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ แห่งประเทศไทย 2542 “พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทย” อัลมะดีนะฮ์ ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน

Abd Al-Qadir Awdah. (1978). Al-Islam WaAwda ´una Assiyasah, Beirut : Dar Al-furqan

Abu Bakr Al-Tartushi. (1994). Siraj Al-Muluk, Egypt : Dar- Al-misriyyah

Abu Bakr Bin Al-Arabi Al-Maliki. (1997). Khasais Al-Tashry Al-Islami Fi Al-siyasahWa Al-Hukm, znd ed., Beirut :Muassasat Al-Risalah.

Ahmad Al-Risuni. (2007). Al-Shura Fi Mrakat Al-Bina´ Jordan : Dar Al-razi.

Al-Bayhaqi(2003).Sunan al-Bayhaqi al-kubraa Dar- al- Kutup al- Ilmiyyah.cairo Egypt

al-Nawawih, Mahy al-Din Yahya bin Sharf 2001 Sahih Muslim bi Sharh al-Nawawiy 4 Ed. Cairo Dar- al-Hadith

Al – Qurtubiy(1999). Al-jami ‘li Ahkam al-Qur’an Beirut: Dar- Fixr

Ibn Al-Arabi Al-Maliki Al-Ashbiri. (1990). Ah-kam Al-Quran. Oman: Dar ´Ammar.

Ibn Ishur. (2000). Al-Tahrir wa Al-Tanwir, Beirut: Dar Lhya Al-Turath Al-Arabi.

Ibn Hajar, (1991). Ahmad Ibn ‘Ali al AsquliniyFath al-Bari bi Sharh Sahih al-Bukhariy Beirut Dar- al-Fixr

Ibn Kathir,Tsma ‘il bin Kathir, (1991). Tafsir al-Qur’an-‘Azim Bairut Dar- al- Kutup al- Ilmiyyah.

Ibn Manzur,al-Allamah Ibn ManzurLisan al- ArabVols.7 ,3 Ed Dar- Ihya al-Turath al-Arabiy

Ibn Mayah, Muhammad bin Yazid Tahgig Muhammad Fuaad.nd. Sunan Ibn Mayah Dar- Ihya al-Kutup al-Arabiyyah

Ila’ Al-Din ‘Ali bin Mukammad bin Ibrahim. (1995). Tafsir Al-Khazin, Beirut: Dar Al-Kutub Al-llmiyyah.

Ibn Taymiyyah. (1992 ). Assiyasah Al-shariyyah Fi IslahArraiyWaArriaiyyah, Beirut : Dar Al-Fikry.

Ibrahim Bin Musa Al-Shatibiy. (2011). Al-Muwafaqat, Beirut :Muassasat Al-Risalah.

Louis Ma’luf(1992). al- Munjid fi al-Ahlam 33 Ed. Beirut: Dar- Mashrix

Muhammad Fathiy ´Uthman. (1979). Min Usul Al-FikrAssiyasi Al-Islami, Beirut :Muassasat Al-Risalah.

Syed Qutbn.d :1/501 Fi zilalalquranIhya al-Turath al-Arabiy Beirut Lubnan

Zaydan Abd al-Karim. (1994). Al-Mufassal Fi Ahkãm Al-MaratiWa al-baiti Al-Muslim Fi Al-shaiyyah Al-Lalamiyah (1stEd).Beirut :Muassasat Al-Risalah.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01