การศึกษาการมีส่วนร่วมของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพใน

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชีพ ประทุมเวียง คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การประกันคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการมีส่วนร่วมและเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพในสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านการดำเนินการตามแผนการจัดการศึกษา ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ด้านการรายงานผลการประเมินตนเองจำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถาบันการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการศึกษาการมีส่วนร่วมและเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพในสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ( One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1.การศึกษาการมีส่วนร่วมและเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพในสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

  1. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพในสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำแนกตามวุฒิการศึกษาและขนาดของสถาบันการศึกษา โดยรวมพบว่า นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันและครูที่อยู่ในสถานศึกษา ขนาดต่างกันมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน สำหรับครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า มีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำกัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการพัฒนามาตรฐานการศึกษา ครูมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2554.กรุงเทพ ฯ :โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.)

คจิตร พงษ์คำพันธ์. (2549).การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3.วิทยานิพนธ์ (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยานัยราชภัฏเลย.

ช่อเพชร เบ้าเงิน. (2548).การมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี.กศ.ด. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยานัยราชกัฏสุราษฎร์ธานี.

ชัญญานุช พรมโคตร. (2557). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตเทศบาลตำบลวัดธาตุอำเภอเมืองหนองคายจังหวัดหนองคาย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

ประครอง มิทะลา. (2549).การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2.ปริญญา ค.ม. (การบริหารการศึกษา)มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระฉัตรชัย อริณฺ ชโย (ยุทธการ). (2554).การศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ วายุวรรธนะ. (2550). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วาสนา บูรพา. (2557). การศึกษาการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิเชียร จันทวิเศษ. (2549).สภาพและปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสระแก้ว.ปริญญา (การบริหารการศึกษา).

โสวัฒน์ วลัยศรี. (2552). การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.ปริญญา ค.ม. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อุดม หงษ์อินทร์. (2551). สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01