ความเป็นครูเชิงสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชีพ ประทุมเวียง คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความเป็นครูเชิงสมรรถนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะและเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านภาวะผู้นำครู และด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความเป็นครูเชิงสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ( One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การศึกษาสมรรถนะและเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
  2. การเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำแนกตามเพศและขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สำหรับสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำแนกตามระดับวุฒิการศึกษาสูงสุด โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2547). การใชภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.

ขวัญฤทัย สมอุดม. (2554). สมรรถนะประจำสายงานของครูโรงเรียนในอำเภอเมือง จังหวัด นครพนม. วิทยานิพนธ์ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครพนม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครพนม.

ปาริชาติ สันติเลขวงษ์.(2556). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้สมรรถนะ ครูไทยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.วิทยานิพนธ์ กศ.ม.(การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยวัฒน์ บัวขาว. (2547). สมรรถนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อการเจรจาต่อรองแก้ไขภาวะวิกฤต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภาวดิ ธาราศรีสุทธิ. (2551). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรรญา สิงห์ทอง. (2559). การศึกษาสภาพแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1.พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560.

อิสหาก นุ้ยโต๊ะ. (2556). สมรรถนะครูอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01