การศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2)เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 384 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น

          ผลการวิจัยพบว่า 1.) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือดังนี้(1.1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการกระตุ้นทางปัญญามีเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ (1.2) สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ 2.) ผลศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลรองลงมา ลำดับที่ 2ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ลำดับที่ 3 ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และลำดับที่ 4ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ

References

ขนิษฐา โพธิสินธุ์. (2550).ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2546).กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ.กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ธีระ รุญเจริญ ปราชญา กล้าผจัญ และสัมมนา รธนิธย์. (2545). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้.กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

พัชรินทร์ สงครามศรี. (2561).การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัทธนันท์ หลีประเสริฐ. (2558).การศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ : กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวินี นิลดำอ่อน. (2556).การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี เขต 29. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลลิดา ชาเรืองเดช. (2555).รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2553).การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย เทพแสง. (2546, พฤษภาคม). ผู้นำคุณภาพ (Quality leadership) : หัวใจสำคัญในการสร้างคุณภาพการศึกษา.วารสารวิชาการ. 6(5), 11-16.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา,ค้นเมื่อ 5กันยายน 2562 จาก https://data.bopp-obec.info/emis/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564, ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม2562 จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Avolio, B.J., Bass, B.M. & Jung, D.I. (1999).Re-examining the components of transformational and transactional leadership using the multifactor leadership
questionnaire.Journal of Occupational and Psychology, 7(2), 441-462.

Bass, B. M., &Avolio, B. J. (1994).Transformational Leadership Development.Pola Alto, California: Consulting Psychologists.

Bass, B.M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.

Bass, B.M., &Riggio, R.E. (2006).Transformational leadership. 2nd ed. Mahwah, NJ: Erlbaum.

Brown, S.L. &Eisenhardt, K. (1997) The Art of Continuous Change: Linking Complexity Theory and Time-Paced Evolution in Relentlessly Shifting Organizations. Administrative Science Quarterly, 42, 1-34.

Fullan, M. (2006). Change theory: A force for school improvement. Center for Strategic Education, 157, 3-14.

Glanz, J. (2002). Finding Your Leadership Style : A Guide for Educations. Alexandria, Va.: ASCD.

James, M. B., (2010). Leadership. New York: Harper Perennial Modern Classices.

Krejice& Morgan, T. (1970).Determining Sampling Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), 597-710.

Nanus, B. (1989). The leader's edge: The seven keys to leadership in a turbulent world. Chicago: Contemporary Books.

Preedy, M., Glattar, R., & Wise, C. (2003).Strategic Leadership and Educational Improvement. London: Paul Chapman Publishing.

Riaz, A. &Haider, M.H. (2010) Role of Transformational and Transactional Leadership on Job Satisfaction and Career Satisfaction.Business and Economic Horizons, 1, 29-38.

Tichy, N. M., &Devanna, M. A. (1986).The Transformational Leader. New York: Riley.

Weick, K. E., & Quinn, R. E. (1999).Organizational change and development.Annual Review of Psychology, 50, 361–386.

Yukl, G. A. (2002). Leadership in organizations. 5th ed. Upper Saddle River, New Jersey: PrenticeHall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26