ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์การ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง2)เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประชากรคือ พนักงานการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวนทั้งสิ้น 308 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตร Taro Yamane ได้จำนวน 200 คน สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม การทดสอบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่ม และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า1) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของวัฒนธรรมองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พบว่า โดยภาพรวมทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก2) อายุที่แตกต่างมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระยะเวลาปฏิบัติงาน แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเพศ สถานสมรส และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน3) ปัจจัยด้านความภาคภูมิใจในองค์กร ด้านสภาพที่ทำงานที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ด้านสังคมสัมพันธ์ ด้านวัฒนธรรมแบบปรับตัว และด้านวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
References
ชลทิชา จันทร์คล้อย. (2558). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำ คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจค้าปลีก (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชิดชนก แตงอ่อน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์กร และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาลวิภาวดีกับการแสดงพฤติกรรมด้านสมรรถนะหลัก. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
โชติรส คนรักษา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการธนาคารออมสิน ภาค 8. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ณัฐยาพัชร์ ลิขิตพิริยะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับวัฒนธรรมองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานของบริษัท โตชิบา แคเรียร์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บรรเทิง ศรีอาจ. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เอสเคโพลีเมอร์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปรัชญา ดาดี. (2557). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา พนักงานส่วนกลางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
พนิดา คำกิ่ง. (2558). ความสัมพันธ์การรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาลการุญเวช จังหวัดปทุมธานี.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พิมลพรรณ แซ่เหลี่ยว. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วรรณภา เหล็กเพชร. (2561). วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันของบุคลากรโรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์, 32-44.