ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยากับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ : กรณีศึกษาโรงเรียนสัตยาไส
คำสำคัญ:
การจัดการศึกษา, ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา, ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ, มนุษย์ที่สมบูรณ์, โรงเรียนสัตยาไสบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของ ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา 2) แนวคิดในการจัดการศึกษาของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา 3) การนำแนวคิดในการจัดการศึกษามาใช้ในการบริหารงานวิชาการและ 4) ผลการจัดการศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนสัตยาไส ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินวิธีวิจัยโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ได้แก่ 1) อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 2) วิสัยทัศน์ 3) เชื่อมั่นในความดีอย่างมั่นคง และ4) มีความรักและเห็นแก่ผู้อื่น (2) แนวคิดในการจัดการศึกษาของดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ประกอบด้วย 1) เป้าหมายการพัฒนาคนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 2) ออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อยกระดับจิตใจและ 3) พัฒนาจิตใจให้รักและเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ (3) การนำแนวคิดในการจัดการศึกษามาใช้ในการบริหารงานวิชาการ ดำเนินการ ดังนี้ 1) วางแผนงานวิชาการที่เน้นคุณธรรมในทุกมิติ 2) เพิ่มวิชาคุณค่าความเป็นมนุษย์ในหลักสูตรสถานศึกษา 3) บูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์ในการเรียนการสอน และ (4) การจัดการศึกษาของโรงเรียนสัตยาไส ได้ผลลัพธ์คือ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน ร้อยละ 100 นักเรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นักเรียนร้อยละ 72 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3 ถึง 4 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานสูงกว่าระดับระดับประเทศ นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบเข้าในระดับมหาวิทยาลัยได้ 2) ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมส่งผลให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทั้งด้านคุณธรรมและความรู้ และ 3) ด้านสถานศึกษาบรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายคุณภาพการศึกษาจนเป็นที่ยอมรับ
References
เกียรติชัย พงษ์พานิชย์. (2552). ปฏิรูปการศึกษารอบสอง. มติชนรายวัน, 2(2552).
จรีพร นาคสัมฤทธิ์และคณะ. (2558). การบริหารโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดการจัดการศึกษาด้วยภูมิวัฒนธรรมและการ พัฒนาที่ยั่งยืน. นครนายก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนวัฒน์ ธรรมโชติ. (2554). กระบวนการพัฒนาความเป็นครูจากมิติด้านใน : กรณีศึกษา หลักสูตรSSESV ของสถาบันการศึกษา สัตยาไส ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธนา นิลชัยโกวิทย์, อดิศร จันทรสุข พวศธร ตันฤทธิศักดิ์ และอัญชลี สถิรเศรษฐ์. (2550). พัฒนาชุดการเรียนรู้การอบรมและ กระบวนกรด้านจิตตปัญญา (รายงานโครงการวิจัย). กรุงเทพฯ : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ. (2552). การจัดการระบบสุขภาวะ. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2561, จาก http://www.oknation.net/blog/pongtheps/
พรทิพย์ จับจิตต์. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียน สำหรับสังคมอยู่ดีมีสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551 ข). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: บ.พิมพ์สวยจำกัด
พีรยุทธ เจริญสุขมงคล. (2555). บทความงานวิจัยทางสถิติเกี่ยวกับประโยชน์ของการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐาน. ค้น เมื่อ 6 ธันวาคม 2562 จาก https://palungjit.org/threads/E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8
พุทธทาสภิกขุ. 2549. การศึกษากับศีลธรรม.หน้า 180.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2561). สืบสานพระราชปณิธาน “การศึกษาไทย”. หน้า 64. กรุงเทพฯ
รภัสศา พิมพา. (2557). ภาวะผู้นำของนิสิตครูหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.5 ปี). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ.
รักษมล ตั้งคุณกิตติ. (2557). ความอดทนในการเรียนรู้เพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงาม : กรณีศึกษาศิษย์เก่าโรงเรียนสัตยาไสที่ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
วรลักษณ์ ชุมสาย ณ อยุธยา. (2548). การพัฒนารูปแบบหลักสูตรและการสอนเพื่อเสริมสร้างดุลยภาพของสมรรถนะทางปัญญา อารมณ์ และจริยธรรมของนิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิจารณ์ พานิช. (2556). สถาบันอุดมศึกษากับการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ. บทความประกอบ.หนังสือการประชุมวิชาการ ประจำปี จิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยมหิดล, 28
ศรินทร์รัศน์ เสริฐปัญญา. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในองค์การธุรกิจในการบริหาร สถานศึกษาขั้นเพื่อฐานตามแนวคิดบรรษัทบริบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์คุณธรรม. (2561). โครงการสำรวจสถานการณ์คุณธรรม จริยธรรมของสังคมไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). รวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี จิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 5 ภาวะผู้นำ จิตวิญญาณ และการพัฒนามนุษย์. นครปฐม : สำนักพิมพ์ภูสายแดด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) 2553. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานเลขาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). เอกสารประกอบการประชุมระดมความคิด เรื่องภาพการศึกษาไทยใน อนาคต 10 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา.
Fleming, K. Y. (2007). Soulful leadership : Leadership characteristics of spiritual leaders contributing to increased meaning in life and work. New York: University of Phoenix.
Fly, L.W. (2003). Toward a theory of ethical and spiritual leadership. The leadership Quarterly, 16(5), 619- 622.
Smith, S. (2007). Spiritual leadership as an effective leadership style for the public school superintendent. Ed. D. dissertation, Duquesne University, United States.