การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก
คำสำคัญ:
การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์, การมีส่วนร่วม, สื่อภาพสัญลักษณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก 2) เพื่อศึกษาระดับความสามารถทางด้านการรับรู้ของเด็ก ที่ได้รับการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก และ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสามารถทางด้านการรับรู้ของเด็ก ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5 – 6 ปี กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อด้วยภาพสัญลักษณ์ และแบบทดสอบความสามารถด้านการรับรู้ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก ทั้งนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษากระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก พบว่า ด้านองค์ประกอบของสื่อ กลุ่มทดลองมีผลการคัดเลือกไปในทิศทางเดียวกับผู้เชี่ยวชาญ และด้านเนื้อหา มีความถูกต้องเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก 2) ระดับความสามารถทางด้านการรับรู้ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก พบว่า โดยรวมมีการรับรู้อยู่ในระดับดีมาก (=8.64) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทุกด้านมีระดับการรับรู้อยู่ในระดับดีมาก ด้านที่มีการรับรู้มากที่สุด คือ ด้านการแปลความหมาย(=4.37) รองลงมา คือ ด้านการให้เหตุผล (=4.27) 3) ความสามารถทางด้านการรับรู้ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก พบว่า สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยก่อนการทดลอง(=6.13) และหลังการทดลอง(=8.64) มีค่าผลต่าง(=2.51)
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2543). การสอนแบบจิตปัญญา : แนวการใช้ในการใช้ในการสร้างแผนการสอนระดับอนุบาลศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทเอดิสัน เพรสโปรดักส์ จำกัด.
ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์. (2515). แบบและสีของภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กอนุบาลพระนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์ สโรบล. (2543). การสื่อสาร: กลไกสำคัญในการก้าวสู่ประชาสังคมในศตวรรษที่ 21, นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น.
ลัดดาวรรณ์ลัมภเวช. (2554). ภาพสัญลักษณ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 6 – 9 ปี. ปริญญานิพนธ์(การออกแบบนิเทศศิลป์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
สุชาติ เถาทอง. (2536). หลักการทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิค.
วราภรณ์ รักวิจัย. (2545). สื่อพัฒนาเด็ก. ใน เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนานักบริหาร และ ผู้จัดการศึกษาระดับสูงการศึกษาปฐมวัย รุ่นที่ 7. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย. (2560). สัมภาษณ์ : ออนไลน์. สืบค้นจาก:https://www.hfocus.org/content/2017/06/14154.
พัชรี สวนแก้ว. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการและการดูแลเด็กปฐมวัย, พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ดวงกมล.
โสภณาจ. (2546). คู่มือภาพสัญลักษณ์ 3,250 ตัวอย่างจากทั่วโลก. กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). เอกสารประกอบการเรียนวิชาการศึกษาปฐมวัยโครงการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ปัทมา คุณเวทย์วิริยะ. (2549). ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญาโดยใช้สื่อไม่มีโครงสร้าง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2536). รายงานวิจัยความสามารถทางสติปัญญากับความสร้างสรรค์ของนักเรียนเด็กเล็กในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ศรีวิไล พลมณี. (2545). ภาษาและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
พรรณธิดา สายตา. (2553). ทักษะการรับรู้ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการฝึกสมาธิก่อนกิจกรรมเสริมประสบการณ์, ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรี เจตน์เจริญรักษ์. (2537). ความสนใจในการรับรู้ของเด็กปฐมวัยจากการใช้เทคนิคการเตรียมเด็กให้สงบ (การเก็บเด็ก). ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
Brown, Kathryn M. (2010, January). Young Authors Writing Workshop in Kindergarten. Young Children. January.
Collin, Molly F. (2012, Novembe). The Importance of Discussing 50 – Cent Words with Preschoolers. Young Children. November.
Dale, Edgar. (1969). Audio-Visual Methods in Teaching. 3rd ed. New York: Rinehart & Winston.
Jung, HeeAn; &Seplocha, Holly. (2010, September). Tools for Developing Pattern Language in Children. Young Children. September.
Shusterman, Anna; Lee, Sang Ah; &Spelke, Elizabeth S. (2008). Developmental Science. 2008: F1 – F7, 2008.