การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • วันเฉลิม ยอดสิงห์ คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, สุขศึกษาและพลศึกษา, การเสริมสร้างสุขภาพทางกาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของรายงานการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังเรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีจำนวน 20 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 247 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 34 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนำเสนอด้วยตารางประกอบความเรียงบรรยาย

                  ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.78/83.33 ซึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/802)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.92 )

References

กองเทพ เคลือบพณิชกุล และคณะ. (2547). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

กิตติ ต่วนกูเปีย. (2557). การพัฒนาแบบฝึกการสร้างสมรรถภาพทางกาย สำหรับกีฬาฟุตซอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.

นพคุณ นาคทอง. (2558). เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รือสันต์ สุวรรณทา. (2560). รายงานผลการพัฒนาชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง เกมพลศึกษา ด้วยการจัดกิจกรรม โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ประกอบบทเรียนการ์ตูน. http://www.kroobannok.com

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2541). หลักสูตรพลศึกษา.กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สมบัติ กาญจนรักพงศ์ และคณะ. (2549). เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E ที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง: กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

สมพงษ์ นาคะวงษ์. (2549). การศึกษาสมรรถภาพการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไอพี หะยีสาแม็ง (2556). การศึกษากิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อศึกษาร้อยละสมรรถภาพทางกายก่อนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เปรียบเทียบกับผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไม้แก่น.

Bucher, C. A. (1967).Funddations of physical education.Saint Louis :C.V.Mosby.

Clarke, Harrison H. (1967). Application of Measurement to Health Physical Education.4th ed. New Jersey : Englewood Clifft, prentice Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26