การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาทาสมุนไพรกับยาประคบสมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 1 และ3 หลังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะค่าอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ชัยญา นพคุณวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สรรใจ แสงวิเชียร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ตำรับยาสมุนไพร, โรคปวดหลังส่วนล่าง, โรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 1 และ3 หลัง

บทคัดย่อ

การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างหรือโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 1 และ3 หลัง ด้วยตำรับยาประคบสมุนไพรจากศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาทาสมุนไพรกับยาประคบสมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 1 และ3 หลัง โดยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ 1 จากการทดลองยาทาสมุนไพร จำนวน 37 คน พบว่า ก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 5.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.228 หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 2.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.822 ทำให้ทราบว่ายาทาสมุนไพรสามารถทำให้ความรู้สึกของอาการปวดหลังลดลงได้ ผลการเปรียบเทียบค่าความรู้สึกของอาการปวดก่อน และหลังการทดลองยาทาสมุนไพร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 จากการทดลองยาประคบสมุนไพรของกลุ่มตัวอย่าง ที่ 2 จำนวน 37 คน พบว่า ก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 5.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.539, หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 1.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.01 เปรียบเทียบค่าความรู้สึกของอาการปวดจากการทดลองยาทาสมุนไพรกับยาประคบสมุนไพร พบมี ความรู้สึกขงอาการปวดลดลงไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กาจนา นิมตรง, นงนุช โอบะ และอาทิตย์ เหล่าเรืองธนา. (2555).ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ และการสนับสนุนต่อพฤติกรรมกรรมการดูแลตนเอง และอาการปวดของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาลัยนเรศวร

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). พลับพลึง. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 1, 2562, จาก https://www.pharmacy.cmu.ac.th/makok.php?id=204

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (ม.ป.ป.). ขิง. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2561, จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_11_1.htm

ชารีฟ หลือรัญ, Haijai. (ม.ป.ป.). แพทย์ไทยใช้น้ำส้มสายชูละลายเสมหะ. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23, 2561, จาก https://www.haijai.com/4372/

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ม.ป.ป.). กระทือ. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 1, 2562, จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=17

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ม.ป.ป.). ละหุ่งแดง. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 1, 2562, จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=106

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ม.ป.ป.). ไพล. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 15, 2561, จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=96

ฐานข้อมูลพรรณไม้องค์การสวนพฤกษศาสตร์. (พฤษภาคม 19, 2556). มะคำไก่. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 12, 2561, จาก http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?b otanic_id=2485

วรรณี แกมเกตุ. (2556). วิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัย. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2550).คู่มือการนวดรักษาโรคแบบราชสำนัก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์. หน้าที่ 99

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (2555). หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.หน้าที่109 - 111

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์). (2555). ตำการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์) ฉบับพัฒนา ตอน 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ. บริษัทสามเจริญพาณิชย์.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ (2552) ตำราการแพทย์ไทยเดิม เล่มที่ 1 (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์ หน้าที่ 373-375

Goodlifeupdate. (2562). น้ำส้มสายชู. สืบค้นเมื่อ เมษายน 25, 2562, จาก https://goodlifeupdate.com/healthy-body/150057.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26