การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานสำหรับนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐสุดา ธุมาลา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, การออกแบบลวดลายผ้าบาติก, สร้างสรรค์เป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบลวดลายผ้าบาติกตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการออกแบบลวดลายผ้าบาติกของนักเรียน ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองเป็นนักเรียนนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

          ผลการวิจัยพบว่า 1.) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.16/81.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2.) ความสามารถในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

References

เฉลิมพล มีชัย. (2562). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

ตะวัน ตนยะแหละ รวิเทพ มุสิกะปาน และสิริมา สัตยาธาร.(2561)การสร้างสรรค์สีย้อมธรรมชาติและลายผ้าเพื่อพัฒนาผ้าบาติกสู่ชุมชน. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0;ครั้งที่ 9;22 มิถุนายน 2561;ประจวบคีรีขันธ์.มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล.

ทิศนา แขมมณี.(2561).ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี.(2552). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นวลน้อย บุญวงษ์.(2542).หลักการออกกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเกื้อ ควรหาเวช.(2542). นวัตกรรมการศึกษา.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปราชญ์ สาตราภัย.(2556).การทำผ้าบาติก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

มงคล เรียงณรงค์ และลัดดา ศิลาน้อย.(2558).การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน(CBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุ่งอรุณ สังวาล.(2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยใช้ศิลป์สร้างสรรค์เป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ลักขณา โพธิสุทธิ์. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การวาดภาพระบายสี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4,” วารสารสังคมศาสตร์วิจัย คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี. 3(1), 49-62.

ศึกษาธิการ, กระทรวง.(2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560-2579.กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ศึกษาธิการ, กระทรวง.(2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.

ศึกษาธิการ, กระทรวง.(2560).คู่มือการใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2556.กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการ.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL).วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2),23-37

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์.(2559). ห้องเรียนแห่งอนาคตเปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช.พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.สามัญศึกษา, กรม.(2540).ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สมฤดี เนียมรัตน์.(2560).การออกแบบลวดลายด้วยเทคนิคการพิมพ์ซิลค์สกรีนบนผ้าฝ้ายผสมใยกล้วย สำหรับชุดทำงานสตรี.วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุธันยานาติย์ อินชะนะ.(2558).การพัฒนาชุดทักษะเรื่องการวาดภาพลายไทยเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26