การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ฐิติมาภรณ์ โชคสัมฤทธิ์ผล โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน, การสร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น, ทักษะการเรียนในศตวรรษที่21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะ การเรียนในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3E1/ E2 =80/802) เพื่อเปรียบเทียบจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและพัฒนาสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะ การเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สถิติt – test for dependent samples3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 โดยการประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า(RatingScale)ระดับมากขึ้นไปกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ เทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นกลุ่มที่สามารถทำการทดลองจัดกิจกรรมและติดตามงานได้สะดวกเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย คือ1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบสอบถามจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและพัฒนาสิ่งแวดล้อม3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่21ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/E2) = 84.20/82.00 2) จิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและพัฒนาสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและพัฒนาสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่21ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สถิติt – test for dependent samplesหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยรวม = 4.45 ,S.D.=0.52มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านผู้สอน = 4.49 , S.D. =0.492. ด้านการจัดการเรียนรู้ = 4.41,S.D.=0.513. ด้านสื่อการจัดการเรียนรู้ = 4.44 ,S.D.=0.554. ด้านการวัดและประเมินผล = 4.45 ,S.D.=0.585. ด้านประโยชน์ที่ได้รับ = 4.45 ,S.D.=0.46ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

References

จิตต์โสภิน มีระเกตุ. (2550).การใช้เวลาว่างของเยาวชนอายุระหว่าง 12-18ปีกิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง.วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคมศาสตร์), 28(2), 202–209.

ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. (2550).การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดาชนก วงศ์พิทักษ์ . (2556).ปัจจัยจิตสังคมทางสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. วิทยานิพนธ์กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒ นาการ). กรุงเทพฯ :บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ธีราพร ทองปัญญา, วีรฉัตร์สุปัญโญ, ประสงค์ตันพิชัย, และ สันติศรีสวนแตง. (2558). "จิตสำนึกต่อการพัฒนาชุมชนของเยาวชน: กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนอาสาสมัครพัฒนาชุมชนห้วยหมอนทอง" วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์. 36(3): 483-497. [ISSN:0125-8370]

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542).คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ : ภาควิชาศึกษาศาสตร์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.

ผกา สัตยธรรม. (2556).การสอนจริยธรรมสำหรับเยาวชน.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :เฮาส์เคอร์มีสท์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538).วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร:ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม: โรงพิมพ์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน.งานที่ครูประถมทำได้ กรุงเทพฯ :สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้งจำกัด.

ล้วน สายยศ ; และอังคณา สายยศ. (2536).เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ:ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วิไล ทองแผ่. (2542).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551).ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพงษ์ วิเศษสังข์. (2554).ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน.การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุวพีร์ กุลสุวรรณ. (2554).“การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบโครงงานที่มีผลต่อทักษะการปฏิบัติเรื่องการจัดตกแต่งสวนด้วยพืชสมุนไพร ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชา หลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม .

สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทาสุนทรประเสริฐ.(2550).ผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ.กรุงเทพฯ : อีเค บุคส์.

สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. (พ.ศ. 2555-2559). สืบค้นจากwww.nesdb.go.th./Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf.วันที่สืบค้น 23 กันยายน 2561

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560).สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. (2560).การวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ปีการศึกษา2550-2560. โรงพิมพ์อักษรไทย .
อมรรัตน์ เชิงหอม,มลิวรรณสรรคชา,สัญทิตย์ชอนบุรี,สำเริงอ่อนสัมพันธ์. (2557).การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกสุจริต ให้กับนักเรียน โรงเรียนบ้านหาดแพง(หาดแพงวิทยา).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุชิต จุรีเกษและสรสิริ วรวรรณ.(2559).การสร้างจิตสำนึกของการเป็นพลโลกที่ดี (Building Awareness to Be a Good Global Citizens).ลานอนาคตการศึกษาสืบค้นจากhttps://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/50214/-edu-teaartedu-teaart-teaarttea-, วันที่สืบค้น 30กันยายน 2561.

อำภารัตน์ นวลทอง. (2554).ผลของการเรียนแบบโครงงานวิชางานธุรกิจที่มีวิธีการกลุ่มบนเว็บบล็อก แบบมีโครงสร้างแตกต่างกันที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best. (1986). Researchineducation.(7th ed). Boston :AlynandBacon.

Bonnet, Bob; & Keen Dan. (1996).Science Fair Project. New York: Sterling.

Guzdial, M. (1998).Technological support for project-based learning. [Online] ASCD yearbook: Learning with technology, 14 : 47-71.

Kendall, D. (2013).Sociology in our times (9th ed). San Francisco, CA : Wadsworth, CengageLearning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26