แนวทางการพัฒนาอาคารสวัสดิการพักอาศัยกรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต

ผู้แต่ง

  • สุกุลพัฒน์ คุ้มไพศาล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

อาคารสวัสดิการพักอาศัย, การศึกษาความเป็นไปได้, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่พักอาศัยของนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และศึกษาความเป็นไปได้ด้านกายภาพ ด้านการตลาดและด้านการเงิน ในการพัฒนาโครงการอาคารสวัสดิการพักอาศัยภายในหรือใกล้เคียงกับพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตที่พักอาศัยในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จำนวน 400 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ด้านกายภาพ ด้านการตลาดและด้านการเงิน

                  ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความปลอดภัยในการพักอาศัย รองลงมาคือ ความเหมาะสมของราคาต่อสภาพความเป็นอยู่ ที่ตั้งอยู่ใกล้พื้นที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางไปศึกษาหรือทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันความเหมาะสมของโปรโมชั่นรูปลักษณ์สวยงามและน่าอยู่อาศัยและ การมีคนรู้จักอาศัยอยู่ ตามลำดับ ทั้งนี้ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ พบว่า ที่ดินที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงการอาคารสวัสดิการพักอาศัยมีขนาด 1,036.46 ตารางวา ตั้งอยู่บริเวณถนนบัณฑิตอาสาและถนนเป็นสุขออกแบบเป็นอาคารพักอาศัยสูง 4 ชั้น จำนวน 2 อาคาร และอาคารบริการสูง 1 ชั้น จำนวน 1 อาคาร มีจำนวนห้องพักรวมทั้งสิ้น 126ห้องพัก โครงการมีโอกาสทางการตลาดสูงมากเนื่องจากเป็นอาคารปลูกสร้างใหม่ พัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้พื้นที่พักอาศัยของนักศึกษาและบุคลากร และมีความเป็นไปได้ด้านการเงิน โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (หลังภาษี) มีค่าเท่ากับ 16,843,146.74 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 12

References

คณะทำงานวิชา UP 434. (2555). การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหอพักนักศึกษาสำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : รายงานวิชาการ วิชา UP 434.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บรรจง อู๋สูงเนิน. (2551). การกำหนดแนวทางควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินและทบทวนผังแม่บทด้านกายภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Fellows, R. & Liu, A. (2008). Research Methods for Construction (3 rd ed.). London: Wiley-Blackwell

Whipple, R.T.M. (2006). Property Valuation and Analysis. Sydney: Thomson Reuters Australia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26