ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ลักขณา สักเข็มหาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ครูอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1)ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2)ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูสถานศึกษา 3)ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู 4)อำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู และ5)แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา ระยะที่ 2 เสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่า IOC ตั้งแต่ .03 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .55-.88 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบเป็นขั้นตอน(Stepwise)

                 ผลการวิจัยพบว่า 1.) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานครพนมโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2.) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม ตามระบบการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3.) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับ ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 4.) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารด้านที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 2 ด้านคือ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา(x2) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล(x4) โดยร่วมกันพยากรณ์ร้อยละ 21.6 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้

                  สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

                  Y= 2.485 + .041 x2+.022 x4

                        สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

                  Zy= .284 Z2 + .212 Z4

  1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ผู้วิจัยนำมาเสนอแนวทางพัฒนามี 2 ด้านคือ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญาและด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับรองการกระจายอำนาจ ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา.กรุงเทพมหานคร คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

กิตติรานีย์ ขวงพร. (2554). การพัฒนาแบบวัดทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21.วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กมลวรรณ นวลน้อย. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาการรับรู้ของครูอำเภอเมือง บึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.

ขวัญตา เกื้อกูลรัฐ. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขนาดกลาง อำเภอโพ ธาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศษม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จันทรานี วิไลวรรณ. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

จารุวรรณ โตบัว. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอพล สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. วิทยานิพนธ์ค.ม. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

จตุภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 27.วิทยานิพนธ์ ค.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เฉลิม สุขเจริญ. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี.รป.ม กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2549). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพ ฯ: ธรรกมลการพิมพ.์

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). ภาวะผู้นำในองค์การ.กรุงเทพ ฯ: ปัญญาชน.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมฯ: เทพเนรมิตรการพิมพ์.

โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. ปริญญานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เชษินีร์ แสวงสุข. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานของครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ทองใบ สุดชารี. (2549). ภาวะผู้นำกลไกขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่2. อุบลราชธานี: คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ทิพวัลย์ ชาลีเครือ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ ครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง. งานนิพนธ์อิสระ ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระ รุญเจริญ. (2545). รายงานการวิจัยสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สถานศึกษาในประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

ธวัช บุณยมณี. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎีวิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพ ฯ: เนติกุล การพิมพ.์

ธนินทร์ รัตนโอฬาร. (2553). การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา ปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ: การประยุกต์ใช้โมเดลการวัดเชิงสะท้อน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธุมากร เจดีย์คำ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษากับ ประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เนตรพัณณา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นําและผู้นําเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ ฯ : เซ็นทรัลเอ็กช์เพรส.

นิธินาถ สินธุเดชะ.(2549).การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพ ฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง

นลิน ศรพรหม. (2550). รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ. (ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://wwwftpi or.th/FTDiWebdmin/knwpworld/imgeconten/55/Leadership.1 ตุลาคม 2552.

บัญฑิตกิมศรี.(2559). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัด จันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์ค.ม. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปาลิกา นิธิประเสริญกุล.(2547). ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาขึ้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปริยา เธียรประดิษฐ์. (2548). ผู้นำ: ปัจจัยความสำเร็จขององค์กร. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.prodnorth.in.th/showarticle.php?ID=050929143727. 6 ตุลาคม 2551.

พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2548). หลักการบริหารการศึกษาและทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. เลย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

แพรภัทร (นามแฝง). (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง.กรุงเทพ ฯ : มติชน.

พิมพรรณ สุริโย. (2552). ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษา ท้องถิ่นที่ 9 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.วิทยานิพนธ์ค.ม. เลย :มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: ระเบียบสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(2542). ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษาแห่งชาติ.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2543). ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนิสิต.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปริญญานิพนธ์วท.ด. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รังสรรค์ ประเสริฐสรี. (2544).ภาวะผู้นำ.กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

รัชนีวรรณ วนิชยถ์นอม. (2550). สมรรถนะในวันวาน วันนี้และพรุ่งนี้ในสาระสำคัญการปรับปรุงพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่.กรุงเทพ ฯ :สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2549). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตรงของประสิทธิผลภาวะผู้นำของ ผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิเชียร วิทยอุดม.(2550). ภาวะผู้นํา. (พิมพ์ครั้งที่ 4.) กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ หวลกระสินธุ์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2. สารนิพนธ์ศษ.ม.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพ ฯ: เอ็ดดูเคชั่น.

โสภณ ภูเก้าล้วน. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org. 3 สิงหาคม 2555.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). สถิติสำหรับการวิจัย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://slideplayer.in.th/slide/2278535/.1 ตุลาคม 2558

สมเกียรติ บาลลา. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การแก่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา อำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.อ.บ.ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2559). คู่มือการบริหารจัดการและปฏิบัติงานของบุคลากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

อังคณา ทีภูเวียง.(2551). ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่มีประสิทธิผล ของ โรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ค.ม. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อภิชยา มีเพียร. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานของครูสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bass, B. M. and Avolio, B. J.(1994).Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. Newbery Park, CA : Sage.

Hoy, W. K. and Miskel ,C.G.(2008). Educational Administration :Theory, Research, and Practice.Singapore : McGraw - Hill.

Likert, R. (1993).A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago : Rand McNally.

Yukl, G. (2006). Leadership in Organization.(6 th ed.) New Jersey : Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26