สถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย
คำสำคัญ:
ภาวะสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, ภาวะสุขภาพจิต, ความสามารถในการดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย ประกอบด้วย ภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพจิต และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 3,600 คน เครื่องมือที่ใช้สอบถามคุณภาพชีวิตได้แปลและพัฒนาจากแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF) ฉบับย่อ 26 ข้อ ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และแบบวัดความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง (ADL) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเชื่อมั่นครอนบาค แอลฟา 0.81,0.87,0.85 ตามลำดับ สถิติที่ใช้คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 38.2 มีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.1 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดี ร้อยละ 45.0 ส่วนคุณภาพชีวิตด้านที่ไม่ดีมากที่สุด คือ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ร้อยละ 17.0 หากแยกตามเพศพบว่าทั้งเพศชายและเพศหญิงมีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 50.2, 46.8 ตามลำดับ สำหรับภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึงร้อยละ 53.3 เมื่อวิเคราะห์แยกตามเพศ พบว่า เพศชายมีภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 58.0 เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 50.5 เมื่อแบ่งวิเคราะห์ตามช่วงอายุ พบว่าช่วงอายุ 60-69 ปี มีสุขภาพจิตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 51.0 เมื่อวิเคราะห์แบ่งตามคะแนน ADL พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านมีสุขภาพจิตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 75.0 สำหรับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุเป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 98.6 ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลวางแผนในการให้การดูแลรวมทั้งส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และให้สถาบันการศึกษาด้านสุขภาพพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองและสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุในสังคมสูงวัย
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำ ปี พ.ศ. 2561 – 2580สืบค้น 10 เมษายน 2562จาก,
http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1539326153-138_0.pdf
กฤติเดช มิ่งไม้. (2561). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการพยาบาลและการศึกษา,11(1),50-65.
กาญจนา ปัญญาธร. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 1(2), 33 -38.
เกสร มุ้ยจีน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ Determinants of Mental Health among Aging. ปทุมธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรัชยา เคล้าดี, จักรวาล สุขไมตรี และสุภชัย นาคสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์,15 (1), 27-32.
ชุติเดช เจียนดอน, ฉวีวรรณ บุญสุยา, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง และนพพร โหวธีระกุล. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(2), 229-239.
ดนัย ทิพยกนก. (2544). ภาวะสุขภาพทางใจของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เด่น นวลไธสง และสุภาภรณ์ สุดหนองบัว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขอน อำเภอสวรรถโลก จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11, 89-104.
ทัศนันท์ ทุมมานนท์, ธาริน สุขอนันต์, ปิยรัตน์ จิตรภักดี และสุภาวัลย์ จาริยะศิลป์. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์,41(1),240-9.
นงนุช แย้มวงษ์. (2557). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. Journal of Medicine and Health Science, 21(1), 37-44.
นริสา วงศ์พนารักษ์, สมเสาวนุช จมูศรีและบังอร กุมพล. ภาวะสุขภาพจิต ความหวังและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.
ประสงค์ ชาญช่าง. (2554). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 3(3), 66-78.
ปัทมา ผ่องศิริ, ปัทมา ผ่องศิริ,กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล,สอาด มุ่งสินและพิสมัย วงศ์สง่า. (2561). คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเขตเมือง อุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์, (25)2. 137-149.
พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และรติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพละภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 94-105.
พิสุทธ์ ศรีอินทร์จันทร์ และบุญมา สุนทราวิรัตน์ (2560). สุขภาพจิตผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุ: มุมมองประชาสังคม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 36 (2). 203-210.
พุทธิพร พิธานธนานุกูล. (2561). ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. พยาบาลสาร, 45(1), 34-47.
มนตรี ประเสริฐรุ่งเรืองและดุษฎี อายุวัฒน์. (2559). การสร้างทางเลือกในการพึ่งพาตนเองอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุรุ่นใหม่. วารสารประชากร,4(2), 24-45.
วันเพ็ญ ปัณราช. (2552). การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. (ดุษฎีบัณฑิตศิลปศาสตร์). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิชัย เอกพลากร . (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณิศร เต็งรัง.(2556). ผลกระทบและ ภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
ศิริสุข นาคะเสนีย์. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1),39–48.
สมศักด์ ชุณหรัศมิ์. (2553).สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. สมุทรปราการ: แอดวานซ์ พริ้นติ้งเซอร์วิส.
เสน่ห์ แสงเงินและถาวร มาต้น (2561). การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองเขตชุมชนกึ่งเมืองและเขตชุมชนชนบท จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์,48(2) 174-184.
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activi- ties” Educational and Psychological Measurement. 30, 607 – 610.
WHO.(1997).WHOQOL Measuring Quality of Life: Geneva. From http://www.who.int/mental_health/media/68.pdf