การศึกษาสมรรถนะของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ในอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วราพร กาญจนคลอด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน, นครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะในปัจจุบันและสมรรถนะที่ต้องการของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน (OTOP) อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรองรับการแข่งขันโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมน จำนวน 120 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า PNI modified

ผลการวิจัยพบว่า ระดับสมรรถนะในการประกอบธุรกิจในปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 3.84 (S.D. = 0.81)  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าส่วนใหญ่มีสมรรถนะดีที่สุดคือด้านคุณลักษณะ มีค่าเฉลี่ย 3.93 (S.D. = 0.84) รองลงมาด้านทักษะมีค่าเฉลี่ย 3.87 (S.D. = 0.79) และด้านความรู้มีค่าเฉลี่ย 3.71 (S.D. = 0.81) ตามลำดับ ส่วนสมรรถนะที่ต้องการของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน (OTOP) กับระดับสมรรถนะในปัจจุบันรายด้าน โดยเรียงลำดับความสำคัญตามค่าดัชนีชี้วัดความสำคัญของความต้องการจาก PNI modified ดังนี้ 1) ด้านความรู้ 2) คุณลักษณะ และ 3) ด้านทักษะ ตามลำดับ

สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ควรได้รับการพัฒนาสมรรถนะ 1) ด้านความรู้ ในประเด็น กฎระเบียบการค้า การผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ 2)  ด้านทักษะ การสร้างเครือข่ายอย่างต่อเนื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และองค์กรอย่างต่อเนื่อง การมีนวัตกรรมองค์กร และ 3)  ด้านคุณลักษณะการเปิดรับองค์ความรู้และนวัตกรรมการมีความคิดสร้างสรรค์  ความมุ่งเน้นในการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น

References

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2543). “Competency – Based Human Resources Management,” HR Magazine. 21(4) (ต.ค. – ธ.ค.): 12 – 22.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2004). “Competency: เครื่องมือการบริหารที่ปฏิเสธไม่ได้,” Productivity. 9(53) (พ.ย. – ธ.ค.): 44 – 48.

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2547). “แนวคิดเรื่องสมรรถนะ Competency: เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง,” Chulalongkon Review. 16(ก.ค. – ก.ย.): 57 – 72.

Ahmad Noor Hazlina, 2010. Is entrepreneurial competency and business success relationship contingent upon business environment?: A study of Malaysian SMEs. Internationl Journal of Entrepreneurial Behaviour & Research. 16.3 (2010): 182–203.

Boam, R., & Sparrow, P., 1992. The rise and rationale of competency- based approaches. In R. Boam & P. Sparrow (Eds.), Designing and achieving competency (pp. 3–15). London: McGraw-Hill.

Boyatizis, R.E., 1982. The Competent Manager. New York: McGraw-Hill.

Dales, M and Hes, K., 1995. Creating Training miracles. Sydney: Prentice Hall.

George & Jones, 1996. Organization Behavior. New York: McFrow-Hill.

McClelland, D.C. (1973). “Testing for Competence rather than for Intelligence,” American Psychologist. 28, 1 – 14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18