การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, อุบัติเหตุจราจร, สงขลาบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัดสงขลา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในการสร้างแนวทางป้องกันอุบัติเหตุเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรและภาคีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน ในการหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความรู้ทัศนคติพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม 2.เพื่อศึกษาปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ในจังหวัดสงขลา 3. เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่แบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัดสงขลา โดยทำการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้แทนชุมชนที่เกี่ยวข้องที่มีความสนใจยินดีเต็มใจเข้าร่วมโครงการ และผู้แทนหน่วยงานราชการ ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 20 คน โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Information) ซึ่งทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะจงเจาะ (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย กลุ่มผู้ขับขี่ที่เป็นผู้มีประสบการณ์ในการขับขี่มีคุณสมบัติอ่านออกเขียนได้ การคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้ ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้ขนาดตัวอย่าง 383 คน และสามารถแสดงผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้
ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ ได้แก่ นโยบายและความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร ภาวะผู้นำการปฏิบัติตนทัศนคติ ต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ พบว่า ตัวแปรที่มีประสิทธิภาพใน การทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ ได้แก่ทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ และการปฏิบัติตน โดยที่ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ เป็นตัวแปรที่ได้รับ การคัดเลือกเข้าสมการเป็นลำดับที่ 1 สามารถทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ ได้ร้อยละ 33.0 การปฏิบัติตนเป็นตัวแปรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสมการเป็นลำดับที่ 2 และ สามารถทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 โดยที่ทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ และการปฏิบัติตนสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ ได้ร้อยละ 44.6 สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถ พบว่าผู้ขับขี่ รถที่มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่สูง ผู้ขับขี่ส่วน ใหญ่เคยมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถ แม้ว่าบางคนไม่เคยเข้าร่วม กิจกรรม แต่ทุกคนมีความสนใจและอยากให้มีการอบรม และยินดีเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนผู้ขับขี่ รถที่มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ต่ำผู้ขับขี่จะไม่ เคยมีส่วนร่วม ในการป้องกันอุบัติเหตุรถ ส่วนใหญ่ไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรมสำหรับด้านแรงจูงใจในการเลือกทำพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ พบว่าผู้ขับขี่รถที่มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ สูงจะมีการเตรียมพร้อมทั้งเรื่องรถและตนเอง มีความระมัดระวังในการขับขี่โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันตนเองไม่อยากให้เกิดอุบัติเหตุ ถ้าเกิดอุบัติเหตุต้องหยุดงาน เสีย รายได้ ถ้าไม่ระมัดระวังแล้วเกิดอุบัติเหตุ จะมีปัญหาตามมามากมาย ส่วนผู้ขับขี่รถ ที่มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ต่ำจะไม่ตรวจสอบความพร้อม ของรถ ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถเร็ว ไม่ให้สัญญาณไฟเลี้ยว บางคนดื่มเหล้าระหว่างการขับขี่ โดยให้เหตุผลว่าขณะนั้นไม่คิดว่าจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย คิดว่าไม่น่าจะเป็นอะไรไม่กลัวว่าจะเกิดอุบัติ เพราะเชื่อว่าขับรถมานานควบคุมได้
References
การจัดเตรียมข้อมูลสําหรับวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์, (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก https://bit.ly/2CTATdj.
เทศบาลเมืองไร่ขิง (ม.ป.ป.). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นจาก https://bit.ly/20QIU7K
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2561). ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ TUE-Thesis. สืบค้นจาก http://tuethesis.library.tu.ac.th/.
กาญจนา ทองทั่วและคณะ. (2555). โครงการกระบวนการสร้างวัฒนธรรม ความปลอดภัยทางถนนของนักศึกษา และชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระยะที่ 1. สนับสนุนโดย
ศูนย์วิชาการ ความปลอดภัยทางถนน สํานักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
กานต์พิชชา หนูบุญ. (2557). ผลของ โปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกัน อุบัติเหตุจราจรจากรถจักรยานยนต์ ของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลอีสาน นครราชสีมา, วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริม สุขภาพ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
คมชาญ ไชโยแสง. (2560). ผลของการ เสริมสร้างพลังอํานาจในการป้อกัน อุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ของวัยรุ่น ตําบลหนองไผ่ อําเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น, วิทยานิพนธ์ปริญญา สาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต สาขาภาวะ ผู้นําและนวัตกรรมการจัดการสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย, วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
เจมส์ แอล เครตัน. (2543). คู่มือการมี ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจของชุมชน, แปลโดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์, นนทบุรี : ศูนย์สันติวิธีเพื่อการ พัฒนาประชาธิปไตย.
ธีรยุทธ์ ลีโคตร และคณะ. (2558). บทบาทของชุมชนในการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน กรณีศึกษา บ้านแพง ตำบลแพง อำเภอ โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม, วารสาร การเมืองการปกครอง ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 มีนาคม-สิงหาคม, วิทยาลัยการปกครอง, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นพดล บำรุงกิจ. (2560). “พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของข้าราชการทหารอากาศชั้นประทวน” วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิทธิฤทธิ์ ชื่นฤทธิ์. (2550). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการใช้บริการที่มีต่อแนวโน้มพฤติกรรมการใช้งาน ระบบ GPRS ในโครงข่ายของ บริษัท ทรู คอร์ปเรชั่น จํากัด ในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการจัดการ.
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้าง วัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http:// www.thairsc.com สืบค้น 26 พฤษภาคม 2563.
อลิสา จันทร์. (2559). เรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค จังหวัดสุพรรณบุรี ” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.