การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • นภัทร บุญเทียม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน, ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอน 2) พัฒนารูปแบบจัดการเรียนการสอนผ่านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองในการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง  แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล ในการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา ระยะที่ 3 พัฒนานักศึกษาพยาบาลในด้านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองในการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน และประเมินผลการพัฒนา และระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 87 คน ที่ฝึกภาคปฏิบัติในชุมชน รายวิชาปฏิบัติการครอบครัวและชุมชน 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 253 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 4) แบบสนทนากลุ่มกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษามี 5 องค์ประกอบคือ 1) มีการทำสมุดจดบันทึกส่วนตัว 2) มีการสร้างห้องสมุดหรือคลังข้อมูลความรู้ของตนเอง 3) มีการหาแหล่งความรู้ในชุมชน 4) มีการหาเพื่อนร่วมเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน และ 5) มีการเรียนรู้จากการฝึกและปฏิบัติ ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า ก่อนการจัดการเรียนการสอนนักศึกษามีคะแนนประเมินทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x}=4.28, SD=0.92)  และคะแนนทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองเฉลี่ยรวมหลังจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x} =4.57, SD=1.11) ผลการประเมินประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบโดยการประเมินคะแนนระดับทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล พบว่า ก่อนการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติ นักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.82 มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x} = 4.26, S.D.=1.03) และหลังการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติ นักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.52 มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.52, S.D.=0.74)

References

กนกพร นทีสมบัติ, รัชนี นามจันทรา, พรศริริ พันธสี, อิสรีย์ เหลืองวิลัย. (2558). การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ. 19 (37), 71-88.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือ “ความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ”(ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จัณทร์ปภัสร์ เครือแก้ว, สุรีพร กฤษเจริญ, กัญจน พลอินทร์, วรางคณา ชัชเวช, ปรียา แก้วพิมล. (2561). รูปแบบการการจัดการเรียนการสอนรายวิชาผดุงครรภ์สำหรับนักศึกษาพยาบาลเพื่อเตรียมสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 10 (1), 13-26.

จัณทร์ปภัสร์ เครือแก้ว, สุรีย์พร กฤษเจริญ, จตุพร ช้างพลาย. (2562). ผลของการทบทวนความรู้ก่อนสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต่อการสอบผ่านในรายวิชาการผดุงครรภ์ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 39 (2), 1-12.

จิราพร วรวงศ์, เนตรนภา กาบมณี, พรพรรณ มนสัจจกุล, ธวัชชัย เขื่อนคำ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28 (ฉบับพิเศษพฤษภาคม – มิถุนายน 2562), 53-64.

นภัทร บุญเทียม, กมลชนก จันดีสาร, ไพรัช บุญจรัส, ศิริวิทย์ หลิ่มโตประเสริฐ. (2562). การพัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 3 (1), 13-32.

ประไพพิศ สิงหเสม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ สำหรับนักศึกษาพยาบาล.
วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28 (ฉบับพิเศษ พฤษภาคม – มิถุนายน 2562), 65-78.

วิวรรณา คล้ายคลึง, วารุณี เพไร, ภัทรพร อรัณยภาค, อัมพร คงจีระ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล: กรณีศึกษารายวิชาการพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 20 (39), 45-59.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2561) สายสุดา ขันธเวช : การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning). สืบค้นจาก http://www.ops.moe.go.th/ops2017/สาระน่ารู้/1854-ทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง.สืบค้นวันที่ 24 มิถุนายน 2563.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ash SL, Clayton PH. (2009). Generrating, deepending and documenting learning: the power of critical reflection in applied learning. Journal of Applied
Learning in Health Education. 1 (1), 25-48.

Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGrawHill.

Langford. (1968). The meaning of teaching. Retrieved from http://www.itie.org/eqi/modules.php. Retrieved June 24, 2020.

Tuckman, B.W. (1999). Conducting Educational Research. (5th ed). Sthed U.S..A.:Hercourt Brace & Company.

Tyler, R. W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago : The University of Chicago.

World Health Organization. (2008). The World Health Report. Retrieved from http://www.who.int/whr/2008/en/. Retrieved 4 April 2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18