การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยตามแนวคิดทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต
คำสำคัญ:
องค์ประกอบ, ตัวบ่งชี้, การบริหารโรงเรียน, มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย, ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยตามแนวคิดทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารการศึกษา ด้านการวิจัยและวัดประเมินผล ด้านหลักสูตรการสอน จำนวน 5 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินความสอดคล้องและแบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารโรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence : IOC) และหาค่าความเหมาะสมเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบผลการศึกษา พบว่าองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารโรงเรียนมี 2 ชุด องค์ประกอบที่ 1 คือการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 1.2) การจัดการเรียนการสอน 1.3) การวัดประเมินผลการจัดการเรียนการสอน มีตัวบ่งชี้ทั้งสิ้น 20 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การบริหารกิจการนักเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การกำหนดจุดมุ่งหมายของการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2.2) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2.3) การวัดประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีตัวบ่งชี้ทั้งสิ้น 20 ตัวบ่งชี้ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของทุกตัวบ่งชี้มีค่า 0.8 ถึง 1.0 และผลการหาความเหมาะสมเฉลี่ยพบว่าทุกตัวบ่งชี้มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.20 ถึง 5.00 ถือว่าผ่านเกณฑ์ทุกตัวบ่งชี้
References
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21: กรุงเทพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงษ์.
วิภารี ศิริลักษณ์. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่21. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร,
เอกชัย ชิณโคตร. (2549). วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลในทศวรรษหน้า. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ( ต.ค. 2549 - มี.ค. 2550 ) หน้า 147-163.
เอกชัย พุทธสอน. (2557). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. (ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abdullah, M., & Osman, K. (2010). 21st century inventive thinking skills among primary students in Malaysia and Brunei. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 9, 1646-1651. doi:10.1016/j.sbspro.2010.12.380
Alex Gray. (2016). The 10 skills you need to thrive in the Fourth Industrial Revolution. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2016/01/the-10-skills-you-need-to-thrive-in-the-fourth-industrial-revolution/
Anna Davies, Devib Fidler, & Marina Gorbis. (2011). Future work Skills 2020. Retrieved from http://www.iftf.org/uploads/media/SR-1382A_UPRI_future_work_skills_sm.pdf
Ruettgers, M. M. (2013). A Content Analysis to Investigate the Evidence of 21st Century Knowledge and Skills within Elementary Teacher Education Programs in the United States.(Ed.D.). Lindenwood University, Ann Arbor. Retrieved from https://search.proquest.com/docview/1330392529?accountid=15637
Şahin, M. (2009). Instructional design principles for 21st century learning skills. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 1, 1464-1468. doi:10.1016/j.sbspro.2009.01.258