การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการตัดสินใจแก้ปัญหา เพื่อสร้างนวัตกรรมในองค์กร : บทบาทผู้นำองค์กรแห่งศตวรรษที่ 21 กับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร

ผู้แต่ง

  • สฤษดิ์ ศรีโยธิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ปทุมพร โพธิ์กาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ความคิดสร้างสรรค์ในการตัดสินใจแก้ปัญหา, บทบาทผู้นำ, นวัตกรรมในองค์กร

บทคัดย่อ

ความคิดสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจแก้ปัญหา ที่มนุษย์จะใช้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นอาวุธที่ใช้รับมือกับวิกฤตต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อที่จะผลิตนวัตกรรมอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร จนนำไปสู่การสร้างผลกำไร ตลอดจนความอยู่รอดให้กับองค์กร ด้วยการกำหนดปัญหาได้อย่างถูกต้อง จนค้นพบสาเหตุ แล้วตัดสินใจเลือกหนทางแก้ไขที่ตรงจุด จนนำไปสู่การแก้ปัญหาการงานปฏิบัติที่ได้ผล ดังนั้นการคิดหาหนทางแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากความสงสัยใคร่รู้ มีแนวโน้มที่จะย้อนกลับไป คำนึงถึงข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากความคิดของมนุษย์ในตอนต้น จนมาสู่การเกิดความคิดที่โลดโผน และเปิดโอกาสให้ความคิดใหม่ ๆ เข้ามาใช้เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา แต่ในทางตรงกันข้ามหากความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่น้อยในผู้คนที่เห็นพ้องกันหมด กระบวนการของการคิดสร้างสรรค์อาจจะล้มเหลวได้ นอกจากนั้นความคิดสร้างสรรค์ ยังถูกใช้เป็นตัวชี้วัดสมรรถนะของว่าที่ผู้นำในองค์กร ใช้ในการพิจารณาว่าเป็นบุคคลที่มีศักยภาพ ที่จะสร้างแรงบันดาลใจที่จะเป็นผู้นำในบทบาทในองค์กร ถูกถ่ายทอดไปสู่การเป็นผู้บริหารที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์กับการแก้ปัญหาในองค์กรนั้น มีทั้งความคิดสร้างสรรค์ในระดับบุคคล และความคิดสร้างสรรค์ในระดับกลุ่ม ที่นอกจากจะเป็นปัจจัยส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในองค์กร ยังเป็นตัวชี้วัดบทบาทผู้นำองค์กรแห่งศตวรรษที่ 21 กับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรความสำเร็จขององค์กร โดยมีผู้นำองค์กรในทุกระดับเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้พนักงานใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาทางเลือก เพื่อเป็นทางออกในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมองค์กรในที่สุด

References

กนกวรรณ ภู่ไหม. (2559). การศึกษาปัจจัยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมองค์กร บริบทธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตรีทิพย์ บุญแย้ม. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในระดับบุคคลและระดับกลุ่มงานเพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในบริษัทเอกชนของไทย. วิทยานิพนธ์สาขาพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธ.ธรรมรักษ์. (2559). ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : เสบียงบุญ.

ประเวช ชุ่มเกสรกูลกิจ และ ศจีมาจ ณ วิเชียร. (2561). “พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน: แนวคิดปัจจัยเชิงสาเหตุความท้าทาย” วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10 (1). น. 25-41.

พยัต วุฒิรงค์. (2550). “นวัตกรรม: แนวทางสู่กระบวนการแก้ปัญหา” Chulalongkorn Review, 20 (77). น. 36-51.

โอฬาร สุขเกษม. (2559) เวอร์ชันใหม่ ‘ประเทศไทย 4.0’ ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,152 วันที่ 28-30 เมษายน พ.ศ. 2559.

Bass, B M., & Riggio, R. E. (2006). Transformational Leadership. (2nd ed.). Mahwah. New Jersey, Lawrence Erlbaum.

Black, R.R., & Mouton, J.S. (1984). Solving Costly Organizational Conflicts. San Francisco: Jossey-Bass.

Borins, S. (2000). Loose cannons and rule breakers, or enterprising leaders? Some evidence about innovative public manager. Public Administration Review 60(6): pp: 498-508.

Casio, W.F. & Aguinis, H. (2011). Applied Psychology in Human Resource Management. New Jersey: Pearson Education Inc.

Coffey, R.E., Cook, C.W. & Hunsaker, P.L. (1994). Management and Organizational Behavior. Illinois: Austen Press.

Colbert, A. E., Kristof-Brown, A. L., Bradley, B. H., & Barrick, M. R. (2008). CEO transformational leadership: The role of goal importance congruence in top management teams. Academy of Management Journal. 51. pp: 81-96.

De Bono, E. (1970). Lateral Thinking for Management. New York: McGraw-Hill.

De Salvo, T. (1999, June). Unleash the creativity in your organization. HR Magazine, pp: 154-164.

Dubrin, A.J. (2002). Fundamental of organizational of behavior: An applied approach. (2nd ed.). Mason, OH: South Western/Thomson Learning.

Gover, J.A., Ronnig, R.R., & Reynolds, (1989). Handbook of Creativity. New York: Plenum Press.

Kreitner, R., & Kinicki, A. (2012). Organizational Behavior. (10thed.). New York: McGraw-Hill.

McKenna, E.F. (2012). Business Psychology and Organization Behavior: a Student’s Handbook. (5thed). East Sussex: Psychology Press.

Proctor, R.A. (1991). The importance of creativity in the management field. British Journal of Management, 2, pp: 223-230.

Richards, T. (1990). Creativity and problem solving at work. Farnborough, Grower.

Robbins, S.P. & Judge.T.A. (2013). Organizational Behavior. (15thed.). New Jersey: Pearson Education.

Scott, S. G., Bruce, R. A. (1994). Determinants of innovative behavior: A path model of individual innovation in the workplace. Academy of Management Journal, 37(1), pp: 580-607.

Shiraev, E.B. & Levy. D.A. (2010). Cross-Cultural Psychology: Critical Thinking and Contemporary Applications. (4thed.). MA: Pearson Educations Inc.

Srivastava, A., Bartol, K. M., & Locke, E.A. (2006). Empowering leadership in management teams: Effects on knowledge-sharing efficacy and performance. Academy of Management Journal. 49. pp: 1239-1251.

West, M. (2000). Creativity and Innovation at Work. The Psychologist, 13, pp: 460-463.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18