คุณภาพการให้บริการที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้ บริการเรือขนส่งผู้โดยสารคลองแสนแสบ

ผู้แต่ง

  • วรพรรณ นิติการ คณะการจัดการมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

คุณภาพในการบริการ, การตัดสินใจ, คลองแสนแสบ

บทคัดย่อ

                 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณภาพการให้บริการขนส่งผู้โดยสารทางเรือคลองแสนแสบ 2. เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขนส่ง 3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์คุณภาพการให้บริการกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งผู้โดยสารทางเรือ ประชากร ได้แก่ ผู้ที่ใช้บริการขนส่งโดยสารท่าเรือคลองแสนแสบ ผู้ศึกษาวิจัยรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์จากกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 371 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้สถิติ  t-test, One-way ANOVA และความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ต้องการศึกษา

                 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานหรือลูกจ้างบริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ซึ่งมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการขนส่งผู้โดยสารเรือคลองแสนแสบโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกับการให้บริการและการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งผู้โดยสารทางเรือคลองแสนแสบ พบว่าส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการทั้ง  6 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการเดินทาง ระยะเวลา ความเร็ว ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและด้านอัตราค่าบริการ

References

กรมเจ้าท่า. (2561). แผนยุทธศาสตร์กรมเจ้าท่า2561. : ข้อมูลการสํารวจความหนาแน่นผู้โดยสารเรือแสนแสบ
2563. สืบค้น 3 ตุลาคม 2563, จาก
https://www.md.go.th/stat/images/pdf_report_stat/4report_dense_SaenSaep2563
กรมเจ้าท่า. (2563). ตารางแสดงอัตราค่าโดยสารกับระยะทางการเดินเรือ กรุงเทพฯ สืบค้น 8 ตุลาคม 2563,
จากhttps://www.mot.go.th/about.html
กรมเจ้าท่า. (2563). ตารางแสดงจํานวนผู้ใช้บริการเรือโดยสารในคลองแสนแสบ จําแนกตามท่าเรือ กรุงเทพฯ :
2563. สืบค้น 8 ตุลาคม 2563, จาก
https://www.md.go.th/stat/index.php/transportinformation/item/426
กรมเจ้าท่า. (2562). แผนที่ตั้งท่าจอดรับ-ส่ง ผู้โดยสารในคลองแสนแสบ
สืบค้น 8 ตุลาคม 2563, จาก
https://md.go.th/md/index.php/2014-01-19-05-02-28/2014-01-19-05-20-44/-1-1/-2557-
11/2084--2558-26/file
กรมการขนส่งทางบก. (2563). รถป้ายแดงที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2563 ประเภทรถยนต์บรรทุก
ส่วนบุคคล รย.3. สืบค้น 14 มกราคม 2563, จาก
https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2806
นเรศรักษ์ เพชรไพศาล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการเรือโดยสารคลองแสนแสบ.
(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นพรัตน์ ศรีสวัสดิ์. (2547). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการเรือโดยสารคลองแสนแสบ.
(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีระพล แจ่มสวัสดิ์. (2556). การศึกษาการให้บริการเรือโดยสารระหว่างเรือศรีราชาและเกาะสีชัง เพื่อพัฒนาการให้
บริการ. ชลบุรี : สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
วราวุฒิ วัจนะรัตน์. (2543). รูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารทางเรือขนส่งมวลชนในคลองแสนแสบ.
(วิทยานิพนธ์ผ.ม.) กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สอาด สุขเสดาะ และคณะ. (2553). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเรือข้ามฟากท่าฉลอม-มหาชัย.
(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Fellesson, M., & Friman, M. (2008). Perceived Satisfaction with Public Transport Service in Nine
European Cities. Journal of the Transportation Research Forum, 47(3): 93-104
Michael Tanko , Harsha Cheemarkurthy, Susanna Hall Kihl, Karl Garme. (2019). Water transit
passenger perceptions and planning factors: A Swedish perspective: Travel Behaviour and
Society Volume 16, July 2019, Pages 23-30
Mahamudul Hasan, Kabita Karmaker:International. (2019). ASSESSMENT OF PASSENGER
SATISFACTION WITH PUBLIC BUS TRANSPORT SERVICES : A CASE STUDY OF LUCKNOW
CITY (INDIA). Journal of Science and Management Studies.
Vuchic, V.R. (1981). Urban public transportation:Systems and technology. Englewood Cliffs, New
Jersey: Prentice-Hall.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and
Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20