พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจซื้ออาหารออร์แกนิคของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภค, การตัดสินใจซื้อ, อาหารออร์แกนิคบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจซื้ออาหารออร์แกนิคของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารออร์แกนิคของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้ออาหารออร์แกนิคของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เพื่อใช้สำรวจกับกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิเคราะห์โดยการแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยประกอบอาหารออร์แกนิคทานเอง โดยมักซื้อวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารในช่วงเวลา 17.01-19.00 น. โดยวัตถุดิบที่มักซื้อไปประกอบอาหาร คือ ประเภทข้าว เช่น ข้าวกล้องออร์แกนิค ข้าวหอมมะลิออร์แกนิค ข้าวไรซ์เบอร์รี่ออร์แกนิค ซึ่งบริโภคอาหารออร์แกนิค 3-4 วันต่อสัปดาห์ มีการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับร้านที่จำหน่ายวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารออร์แกนิค จากสื่ออินเทอร์เน็ต เช่น Facebook fanpage และ Instagram และราคาของวัตถุดิบที่ซื้อเพื่อประกอบอาหารออร์แกนิคต่อครั้งน้อยกว่า 500 บาท ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่เคยประกอบอาหารออร์แกนิคทานเองเพราะไม่มีเวลาในการประกอบอาหาร และ 2) การตัดสินใจซื้ออาหารออร์แกนิคในภาพรวม จัดอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ลำดับแรกคือ ด้านกระบวนการให้บริการ จัดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ จัดอยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ จัดอยู่ในระดับมาก ด้านบุคลากร จัดอยู่ในระดับมาก ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย จัดอยู่ในระดับมาก ด้านราคา จัดอยู่ในระดับมาก และด้านการส่งเสริมการขาย จัดอยู่ในระดับมาก
References
2.กิตติภณ ลิ้มพรพรหม. (2559). สุขภาพเรา ทำอย่างไร ได้อย่างนั้น. กรุงเทพฯ: เดอะ ซีนนิธ อินเตอร์บุ๊ก.
3.ชนิดา นิยมสุข. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
4.ชูชัย พิทักษ์เมืองแมน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จร้านอาหารคลีนฟู๊ดเดลิเอร์รี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร.คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
5.เนตรชนก วิทยอุดม. (2558). ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
6.พลอยไพลิน คำแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
7.รัฐนันท์ แย้มเกษสุคนธ์. (2558). แผนธุรกิจร้านขายอาหารออร์แกนิคแบบเคลื่อนที่ “สนุ๊กทรัค”. โครงการแผนธุรกิจนวัตกรรม บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
8.วรันพร นางาม. (2561). อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำอาหารคลีนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
9.วานิสา บำรุงธรรม. (2560). แผนธุรกิจร้านไอรินฟาร์มไฮโดรโปรนิกส์ผ่านช่องทางออนไลน์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
10.สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2561). อาหารออร์แกนิค. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
11.อาโออิ, คิโนะชิตะ. (2559). Detox water. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
12.Bloom, B.S. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. 1(2) Losangeles. University of California at Los Angeles.
13.Das, D. (2020). Optimization of dark fermentative hydrogen production from organic wastes using acidogenic mixed consortia. Energy Conversion and Management, 219(113047), 1-12.
14.Mukute, M. (2018). Exploring the Potential of Developmental Work Research and Change Laboratory to Support Sustainability Transformations: A Case Study of Organic Agriculture in Zimbabwe.M. MUKUTE ET AL., 2018, 1-19.
15.Parichard, S. & Wen, C.H. (2012). Consumers’ Perceptions and Attitudes of Organic Food Products in Northern Thailand. International Food and Agribusiness Management Review, 15(1), 87-102.
16.www.omni-recipes.com. 9 เทรนด์อาหารและเครื่องดื่ม ปี 2020 ที่ผู้ผลิตต้องปรับสูตรรับกระแสรักสุขภาพ.จาก http://omni-recipes.com/2020/01/03/trend-food-and-drink-2020/. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563.
17.www.posttoday.com. โอกาสของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ. จาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/427460. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563.
18.Yamane Taro. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.